สร้างสูตรคำนวณจุดคุ้มทุน (Payback Period) แบบอัตโนมัติด้วย Excel

13564599_s

คุณเคยมีประสบการณ์ทำโปรเจ็คต์ไหมครับ?

เวลาทำโปรเจ็คต์ ขั้นตอนแรกคือ วิเคราะห์ว่าควรทำโปรเจ็คต์หรือไม่

หรือก็คือการทำ Project Feasibility นั่นเอง

ตัวเลขยอดฮิตที่ผู้บริหารมักใช้เป็นเกณฑ์การตัดสินใจคือ NPV, IRR และ จุดคุ้มทุน (Payback Period)

สำหรับการคำนวณ NPV หรือ IRR คงไม่ใช่ปัญหาอะไร เพราะในเอ็กเซลมีฟังก์ชันที่สามารถคำนวณแบบตรงๆ (ฟังก์ชัน NPV และ IRR)

ปัญหาใหญ่ก็คือ เจ้าจุดคุ้มทุนนี่แหละ !

เพราะไม่มีฟังก์ชันใดๆในเอ็กเซลที่คำนวณแบบตรงๆได้

ต้องคำนวณ(มือ)กัน(เอง)

พอคำนวณ(มือ) ปัญหาที่ตามมาคือ ถ้าสมมติฐาน (Assumption) เปลี่ยน จุดคุ้มทุนก็จะเปลี่ยนไปด้วย

แปลว่า ต้องคำนวณ(มือ)หาจุดคุ้มทุนใหม่อีก(แล้ว)

แค่คิดมันก็เศร้า T_T …

PaybackPeriod_150226

วันนี้ผมขอนำเสนอ “สูตรประยุกต์” เพื่อแก้ปัญหานั้นให้หมดไปครับ ^__^
ตารางการคำนวณของจุดคุ้มทุนของแต่ละคน หน้าตาประมาณแบบนี้

150126_BreakEvenCalculation_Structure
BreakEvenCalculation_Structure

อาจมีแตกต่างกันบ้างเรื่องรายละเอียดปลีกย่อย รวมถึงการเชื่อมโยงกับสมมติฐานต่างๆ การสร้าง Sensitivity Analysis

แต่องค์ประกอบหลักๆน่าจะไม่ต่างจากตารางนี้มากนัก

จุดคุ้มทุนถูกคำนวณจาก กระแสเงินสดสะสม (Cumulative cash flow)

จากภาพด้านบน เราเดาได้เลยว่าจุดคุ้มทุนต้องอยู่ระหว่างปีที่ 4 และ 5 แน่นอน

เนื่องจากค่าศูนย์อยู่ระหว่างค่าของสองปีดังกล่าว (ระหว่าง -303 กับ +209)

เจ้ากระแสเงินสดสะสมก็เป็นผลของการคำนวณกระแสเงินสด (Free Cash Flow) นั่นเอง ซึ่งเจ้ากระแสเงินสดนี่แหละที่มีข้อจุกจิกไม่น้อย สูตรคำนวณกระแสเงินสดนั้นไม่ยากเลย

ปัญหาคือองค์ประกอบของมันนั่นแหละ

โดยพื้นฐานแล้ว กระแสเงินสด ประกอบด้วย

150126_BreakEvenCalculation_FreeCashFlow
BreakEvenCalculation_FreeCashFlow
  1. ผลกำไรของโปรเจคท์นั้นๆ (Net Operating Profit After Tax (NOPAT))
  2. ค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักร (Depreciation)
  3. มูลค่าทางบัญชีของเครื่องจักรเก่าที่ต้องนำออก (ถ้ามี) หรือก็คือ Asset Write-off
  4. เงินลงทุน (Investment, Capital Expenditures (CapEx))
  5. เงินทุนหมุนเวียนที่เปลี่ยนแปลงไป (Working Capital Changed)

สูตรก็คือ

Free Cash Flow =

NOPAT + Depreciation + Asset Write-off – Investment – Working Capital Changed

สูตรเขียนง่ายมาก แต่ในความเป็นจริงแล้ว กว่าจะได้ตัวเลขแต่ละตัวมา แทบจะเหงื่อไหลเป็นสายเลือด T_T

ต้องลำบากฝ่าฟันขั้นตอนมากมายเพื่อให้ได้ตัวเลขเหล่านี้ รวมถึงต้อง “คาดการณ์” กันบ้าง

เชื่อว่าหลายๆคนคงเคยทำตัวเป็น “เทพบุตรพยากรณ์” หรือ “เทพธิดาพยากรณ์” เพื่อมโนตัวเลขเหล่านี้มาไม่มากก็น้อย

ผมเองก็เป็นหนึ่งในนั้นเช่นกัน ^^

มาถึงเจ้าตัวพระเอกของเรา (หรือเจ้าตัวปัญหากันแน่)

จุดคุ้มทุนนั่นเอง!

เราสามารถนำฟังก์ชัน MATCH และ INDEX มาช่วยคำนวณเจ้านี่ได้ แต่ต้องพลิกแพลงเล็กน้อย

จากตัวอย่างด้านบน สามารถคำนวณจุดคุ้มทุนได้จาก

=(MATCH(0,B21:L21)-1)

+(0 – INDEX(B21:L21,MATCH(0,B21:L21)))/(INDEX(B21:L21, MATCH(0,B21:L21) +1) -INDEX(B21:L21, MATCH(0,B21:L21) ) )

BreakEvenCalculation_BreakEvenFormula

สูตรอาจดูยาวเล็กน้อยนะครับ (สังเกตสูตรใน Formula Bar ของรูปภาพด้านบน) ขอแยกเป็นสององค์ประกอบหลักนะครับ

เจ้าตัวแรกคือ (MATCH(0,B21:L21)-1)

สูตรนี้ต้องการหาว่าจุดคุ้มทุนอยู่ในปีใด

วิธีการก็คือตรวจสอบว่าค่า 0 อยู่ระหว่างปีใดโดยใช้ฟังก์ชัน MATCH นั่นเอง

มีข้อสังเกตเล็กน้อย คือเจ้า MATCH แบบนี้ไม่ได้ลงท้ายด้วย 0 หรือ FALSE นะครับ แต่ลงท้ายด้วย 1 (หรือ TRUE)

หรือใส่องค์ประกอบ (Argument) แค่สององค์ประกอบก็พอ (ปกติ MATCH ประกอบด้วยองค์ประกอบสามส่วน)

เพราะในเอ็กเซลถือว่าองค์ประกอบที่สามของ MATCH เป็นออพชัน จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้

แต่ถ้าไม่ใส่มันจะติ๊ต่าง (Default) ให้มีค่าเท่ากับ 1

จากตัวอย่าง ค่าที่ได้ของสูตรนี้คือ 4 เนื่องจากค่าศูนย์อยู่ระหว่างค่า -303 ในปีที่สี่ และค่า +209 ในปีที่ห้านั่นเอง

ส่วนเจ้าตัวที่สองคือ

(0-INDEX(B21:L21,MATCH(0,B21:L21)))/(INDEX(B21:L21,MATCH(0,B21:L21)+1)-INDEX(B21:L21,MATCH(0,B21:L21)))

เป็นการหาว่าค่า 4 ที่ได้เป็น 4.0 หรือ 4.1 หรือ 4.8

พูดง่ายๆก็คือคำนวณค่าที่เป็นทศนิยมหลังสี่นั่นเอง ซึ่งค่านี้มีได้ตั้งแต่ 0.0 – 0.9999999999

ถ้าเราไม่คำนวณค่านี้ จุดคุ้มทุนของเรามีสิทธิ์ผิดไปได้สูงสุดถึงหนึ่งปีเลยทีเดียว

จากตัวอย่าง ถ้าเราคิดมือ เราสามารถคำนวณได้จาก 303/ (209 – (-303))

ลองแปลงสูตรคำนวณมือ เป็นสูตรเอ็กเซลกันครับ

  • 303 หรือสามารถเขียนเป็น (0 – (-303)) ก็คือส่วนที่เป็น (0-INDEX(B21:L21,MATCH(0,B21:L21)))
  • 209 ก็คือส่วนที่เป็น INDEX(B21:L21,MATCH(0,B21:L21)+1)
  • (-303) ก็คือส่วนที่เป็น INDEX(B21:L21,MATCH(0,B21:L21))

สำหรับคนที่คุ้นเคยกับฟังก์ชัน MATCH และ INDEX คงเข้าใจได้ไม่ยาก

แต่สำหรับคนที่ไม่คุ้นเคย ผมแนะนำให้ลองศึกษาสองฟังก์ชันนี้ก่อนนะครับ

แล้วเราจะรู้เลยว่าเจ้าสองตัวนี้มีประโยชน์ในการทำงานจริงมากๆถึงมากที่สุด

ใครที่ไม่เคยใช้ ผมแนะนำเลยครับว่า ถ้าใช้เป็น แนวทางการเขียนสูตรเอ็กเซลของเราจะเปลี่ยนไปเลย

อาจดูยาวขึ้น แต่ใช้ประโยชน์ได้หลากหลายขึ้น และกลบข้อด้อยของการใช้ VLOOKUP หรือ HLOOKUP ได้ด้วย

อ้อ! ผมได้แนบไฟล์ตัวอย่างของบทความนี้ให้ด้วยครับ น่าจะช่วยให้เห็นภาพได้ง่ายขึ้น

หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนนะครับ  ^__^

150126_BreakEvenCalculationFile

.
หากคุณชอบบทความแนวนี้ สามารถอัพเดตบทความใหม่โดยคลิก Like เฟซบุ๊กแฟนเพจ วิศวกรรีพอร์ต หรือคลิก ที่นี่
อย่าลืมแชร์ให้เพื่อนอ่านเพื่อเป็นกำลังใจให้คนเขียนด้วยนะครับ ^__^

อ้อ! ตอนนี้ผมมีคอร์สออนไลน์กับทาง SkillLane แล้ว ดูรายละเอียดได้จากลิงค์นี้ครับ https://www.skilllane.com/courses/excel-in-essence

วิศวกรรีพอร์ต

คนธรรมดาผู้มีประสบการณ์ทำงานหลากหลายตำแหน่ง คลุกคลีกับการทำรีพอร์ตมาโดยตลอด สุดท้ายค้นพบแนวทางของตัวเอง จึงอยากแบ่งปันเคล็ดลับและประสบการณ์ให้กับผู้สนใจ

21 thoughts on “สร้างสูตรคำนวณจุดคุ้มทุน (Payback Period) แบบอัตโนมัติด้วย Excel

  1. ขอบคุณสำหรับความรู้ดี ๆ ครับ แต่หัวข้อนี้เท่าที่อ่านแล้วน่าจะเป็นเรื่องของ Payback Period หรือระยะเวลาคืนทุนครับ เนื่องจาก Break Even Point จะเป็นการบอกจุดคุ้มทุนในแต่ละปีว่าจะต้องมียอดขายเท่าไรในปีนั้น ๆ จึงจะคุ้มกับต้นทุนและค่าใช้จ่ายทั้งหมดในปีนั้นครับ

      1. มีเปิดสอน คอร์สออนไลน์กับทาง SkillLaneป่าวครับ สำหรับ การทำ
        Project Feasibility

      2. ขอบคุณครับ พอดีผมกำลังทำ project start up ลงทุนในต่างประเทศ พอจะมีแนะนำคนที่รับทำfeasibility ป่าวครับ

  2. อ่านแล้วยังงงๆอยู่เลย ตัวเลขบางตัวต้องประมาณเอาเอง แต่คิดว่าพอเห็นภาพบ้างละว่าจุดคุ้มทุนอยู่ที่ไหน

  3. รบกวนสอบถามเกี่ยวกับการคำนวณ ROI ของเครื่องจักรคะ มีสูตรการคำนวณ excel ไหมคะ

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.