วิเคราะห์ “ความสัมพันธ์” อย่าบรรยาย “ตัวเลข”

22026141_s

เคยพบการวิเคราะห์ลักษณะนี้ไหมครับ

“ยอดขายเดือนนี้คือ 12 ล้านบาท เติบโตขึ้นจากปีที่ผ่านมา 20% กำไรเบื้องต้นอยู่ที่ 2.2 ล้านบาท เติบโตจากปีที่ผ่านมา 10%”

ก็ปกติไม่ใช่เหรอ???

ถ้าข้อความหรือบทวิเคราะห์ที่อธิบายเรื่องยอดขายกับกำไรเบื้องต้นมีเพียงเท่านี้ โดยส่วนตัวแล้วผมถือว่า “ผิด” ครับ

ทำไมล่ะ???

เพราะนี่ไม่ใช่การวิเคราะห์ แต่เป็นการ “บรรยาย” ครับ

หากเรามีโอกาสเขียนวิเคราะห์งานของเรา หรือมีโอกาสนำเสนองานของเราในที่ประชุม ผมอยากให้วิเคราะห์ในลักษณะนี้ครับ

“ยอดขายเดือนนี้คือ 12 ล้านบาท เติบโตจากปีที่ผ่านมา 20% แต่อัตราการเติบโตของกำไรเบื้องต้นอยู่ที่ 18.3%

สาเหตุหลักที่ทำให้กำไรเบื้องต้นมีอัตราการเติบโตที่น้อยกว่ายอดขายคือ อัตราแลกเปลี่ยนและโปรดักท์เอ

อัตราแลกเปลี่ยนในปีนี้คือ 32.65 บาท/ดอลลาร์ อ่อนตัวลงกว่าปีที่แล้ว 0.5% มีผลกระทบต่อผลกำไรประมาณสามแสนบาท

ยอดขายโปรดักท์เอสูงกว่าปีที่ผ่านมาอย่างมีนัยสำคัญซึ่งเป็นผลจากการทำโปรโมชั่นทุกวันพุธตลอดเดือน

แม้กำไรเบื้องต้นลดลงประมาณ 3% แต่ในแง่ของเงินบาทแล้วเพิ่มขึ้นประมาณหนึ่งแสนบาท”

ก็ข้อมูลมันมีเยอะกว่านี่ ตอนแรกนึกว่าให้เขียนเฉพาะยอดขายกับกำไรเบื้องต้น!!!

ในชีวิตจริง “โจทย์” ที่เราได้รับก็คือประโยคก่อนหน้านี้แหละครับ

แต่ “ความคาดหวัง” มันมากกว่านั้นเสมอ

หากเรา “บรรยาย” เฉพาะตัวเลข เจ้านาย ผู้บริหาร หรือผู้ฟัง ก็จะรู้สึกว่ามันแกนๆ มันไม่ชัด

แต่หากเรา “วิเคราะห์” เราก็จะสังเกตุว่า “ความสัมพันธ์” อัตราการเติบโตของผลกำไรมันน้อยกว่ายอดขาย

เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วแสดงว่า มันต้องมีอะไรบางอย่างที่ “ผิดปกติ”

เราก็ต้องวิเคราะห์ต่อว่า สิ่งที่ปีนี้มีแต่ปีที่แล้วไม่มี (หรือปีนี้ไม่มีแต่ปีที่แล้วมี)  มีอะไรบ้าง สิ่งที่ปีนี้สูงแต่ปีที่แล้วต่ำ (หรือสิ่งที่ปีนี้ต่ำแต่ปีที่แล้วสูง) มีอะไรบ้าง

ในความเป็นจริงแล้วมันมีร้อยแปดแหละครับ แต่ปัจจัยที่มัน “โดน” จริงๆมันมีไม่กี่ตัวหรอกครับ

เราคงต้องใช้เวลาศึกษาและทำนอกเหนือคำสั่งเพื่อหามันให้เจอและนำมันมาเขียนในบทวิเคราะห์ของเรา

แล้วทำไมคนสั่งไม่สั่งให้ชัดเจนไปเลยล่ะว่าให้ดูเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนกับโปรโมชันโปรดักท์เอด้วย??

นั่นคือเหตุผลที่เค้าจ้างเรามาทำงานไงล่ะครับ ^_^

สุขสันต์วันครอบครัวครับ,

.

หากคุณชอบบทความแนวนี้ สามารถอัพเดตบทความใหม่ๆโดยคลิก Like เฟสบุ๊คแฟนเพจ วิศวกรรีพอร์ต หรือคลิก ที่นี่

อย่าลืมแชร์ให้เพื่อนอ่านเพื่อเป็นกำลังใจให้คนเขียนด้วยนะครับ ^_^

วิศวกรรีพอร์ต

คนธรรมดาผู้มีประสบการณ์ทำงานหลากหลายตำแหน่ง คลุกคลีกับการทำรีพอร์ตมาโดยตลอด สุดท้ายค้นพบแนวทางของตัวเอง จึงอยากแบ่งปันเคล็ดลับและประสบการณ์ให้กับผู้สนใจ

16 thoughts on “วิเคราะห์ “ความสัมพันธ์” อย่าบรรยาย “ตัวเลข”

  1. อยากให้คุณบิว แนะนำเรื่องการวิเคราะห์ ธุรกิจอีกครับ

    1. มีเขียนไปบ้างแล้วนะครับ ลองหาในหมวดหมู่ ฺBusiness Case ครับ

      บทความของผมจะพยายามแทรกมุมมองวิเคราะห์ธุรกิจเข้าไปด้วยครับ เพราะเทคนิคเอ็กเซล หรือการนำเสนอ คงไม่เพียงพอในการทำงานจริง

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.