8 เทพอสูรที่ทำให้บทความวิศวกรรีพอร์ตแตกต่างจากหนังสือเอ็กเซล!!

37719181_s

วิศวกรรีพอร์ต? มันคืออัลไล?

อาจเป็นคำถามที่ป็อปอัพอัตโนมัติ หลังจากเห็นบล็อกหรือแฟนเพจที่ชื่อว่า “วิศวกรรีพอร์ต”

พออ่านดูก็คงพอแกวๆได้ว่า เป็นบทความเกี่ยวกับเทคนิคการทำรีพอร์ตเพื่อนำเสนอผลงาน โดยเน้นใช้เครื่องมือสุดฮิตอย่างไมโครซอฟท์เอ็กเซล รวมถึงชวนคุยเรื่องสัพเพเหระเกี่ยวกับชีวิตการทำงานของคนออฟฟิศ

แล้วมันต่างกับหนังสือเอ็กเซลยังไง?

คำถามนี้ก็คงผุดขึ้นในใจหลายคนเช่นกัน ผมขอตอบคำถามนี้โดยให้เหตุผลทั้งสิ้น 8 ข้อ ขอตั้งชื่อว่า “8 เทพอสูร” นะครับ อารมณ์ประมาณนิยายเรื่อง 8 เทพอสูรมังกรฟ้าของกิมย้งนั่นล่ะครับ ^^

บางเทพอสูรอาจมีอ้างอิงถึงบทความที่เกี่ยวข้องนะครับ หากสนใจบทความใด สามารถคลิกอ่านได้ที่ตัวหนังสือสีฟ้าเลยครับ

1. เขียนด้วยภาษาง่ายๆในรูปแบบเล่าเรื่อง

พยายามสื่อสารให้ผู้อ่านเข้าใจด้วยภาษาสบายๆ อ่านลื่นๆ คล้ายกำลังฟังผมเล่าให้ฟัง หรือกำลังพูดคุยถามตอบกัน ถ้าตรงไหนดูเข้าใจยากจะมี “เจ้าส้ม” มาช่วยถามเป็นระยะๆ เพื่อให้การสนทนาไม่ติดขัด

ฮั่นแน่!! โดนกล่าวอ้างอิงซะด้วย..

นั่นล่ะครับ เจ้าส้มที่ว่าก็โผล่มาแบบนี้แหละครับ ^_^

แถมมีปล่อยมุข(แป้ก) เป็นบางครั้ง เพื่อให้คนอ่านรู้สึกสบายๆ

ถามคนอ่านบ้างไหมว่าเค้าขำหรือเปล่า?

ถ้าไม่ขำ อมยิ้มที่มุมปากก็ยังดีครับ ปล่อยมุขแล้วอย่าให้เสียของนะครับ ^^

2. เขียนจากประสบการณ์ทำงานจริงที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว

เวลาคุณติดขัดเรื่องการใช้ฟังก์ชันใหม่ เคยอ่าน Help ของไมโครซอฟท์ไหมครับ?

ผมอ่านครับ แต่อ่านทีไรก็ขัดใจทุกที เพราะตัวอย่างที่ให้มามันไม่ค่อยสื่อเท่าไร คืออ่านแล้วรู้ว่าต้องใช้ยังไง แต่ไม่รู้ว่าจะเอาไปใช้เมื่อไร!!

เชื่อไหมครับว่า สมัยที่ผมเริ่มทำงานใหม่ๆ ผมรู้แค่ว่า เอ็กเซลเอาไว้สร้างตาราง!

จริงดิ!

จริงครับ ผมใช้เอ็กเซลแทบไม่เป็นเลย สมัยทำโปรเจ็คต์ตอนปีสี่ก็ให้เพื่อนในกลุ่มช่วยสรุปข้อมูลหรือทำกราฟให้ ผมทำไม่เป็นจริงๆ..

แต่ ณ ตอนนี้ ผมมีประสบการณ์ทำงานหลากตำแหน่งจากหลายอุตสาหกรรม บทความทุกบทความคือรูปแบบงานที่เคยทำจริง อาจจะไม่ใช่รูปแบบที่ดีเลิศ แต่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับหลายๆคน

3. ให้แง่คิดการใช้งานเอ็กเซล ไม่ได้บอกแค่วิธีเขียนสูตร

นี่คือสิ่งที่หนังสือทั่วๆไปไม่มี หนังสือส่วนใหญ่เน้นว่าต้องทำยังไงถึงจะได้ผลลัพธ์หน้าตาแบบนี้ แต่คุณอาจหาสิ่งนั้นไม่ได้เลยในบทความของผม เพราะนั่นไม่ใช่ประเด็นที่ผมจะสื่อ

สิ่งที่ผมจะสื่อคือจะนำเทคนิคเหล่านั้นไปใช้ทำงานใด มีข้อดีข้อเสียอะไร และอะไรคือสิ่งที่ต้องระวัง!!! รวมถึงมุมมองใหม่ๆ เช่น บทความเรื่อง

4. นำเสนอการคิดทำรีพอร์ตไม่ใช่ตารางสรุปตัวเลข

สิ่งสำคัญที่สุดของรีพอร์ตไม่ใช่ตัวเลข แต่มันคือ

การวิเคราะห์ข้อมูลและสื่อสารให้ผู้ฟังเข้าใจ

บทความต่างๆจะคิดควบคู่การนำเสนอเป็นหลัก ไม่ได้อธิบายแค่การสรุปตัวเลข เน้นมุมมองของนักวิเคราะห์ เช่น บทความเรื่อง

รวมถึงแทรกข้อคิดตอนทำพรีเซ็นเตชั่น เช่น

5. ประยุกต์ใช้งานในรูปแบบอื่นๆ

ในการทำงานจริง เราต้องเจอการใช้งานหลากหลายรูปแบบมากๆ แล้วแต่นายจะบัญชา…

เวลาสั่ง สั่งง๊ายง่ายเนอะ แต่เวลาคิด มันคิดไม่ง่ายน่ะสิ…

ผมพยายามสอดแทรกรูปแบบการใช้งานที่พบได้ในชีวิตการทำงานจริง เช่น

หรืออาจนำเอ็กเซลไปใช้ในชีวิตส่วนตัว เช่น

6. นำเสนอมุมมองใหม่ๆ

การชวนคุยแต่เรื่องเดิมๆคงน่าเบื่อใช่ไหมครับ ลองมาคุยกันแบบ

“เหล้าเก่าในขวดใหม่” บ้างไหมครับ

แต่ไม่ได้ชวนคุณกินเหล้านะครับ ^o^

ยังไง งง?

เราก็ยังคุยกันในเรื่องเอ็กเซลนั่นล่ะครับ แต่ลองเปลี่ยนแนวดู ดังเช่นบทความเรื่อง

การนำเสนอที่ดีควรนำเสนอในรูปแบบของกราฟใช่ไหมครับ ถ้าเรารู้จักกราฟแปลกๆ อาจสื่อสารเข้าถึงเนื้องานของเราได้ดีขึ้น งานของเราก็ดูมีมิติมากขึ้น กราฟแปลกๆที่ว่าก็เช่น

7. คือเบื้องหลังชีวิตพนักงานออฟฟิศ

จริงๆแล้วบทความวิศวกรรีพอร์ตไม่ใช่บทความสอนเอ็กเซล แต่เป็นบทความที่นำเสนอประสบการณ์ทำงานของผมเอง บางข้ออาจเป็นประโยชน์กับหลายๆคน เช่น

หรืออาจเป็นเทคนิคการทำงานเล็กๆน้อยๆ เช่น

8. มันฟรี!!

หลายๆบทความมีไฟล์ตัวอย่างให้ดาวน์โหลดฟรีครับ หากชอบหรือคิดว่ามีประโยชน์ก็ช่วยแชร์กันเยอะๆนะครับ อย่างน้อยก็ทำให้คนเขียนมีกำลังใจเขียนต่อครับ ^_^

.

หากคุณชอบบทความแนวนี้ สามารถอัพเดตบทความใหม่ๆโดยคลิก Like เฟสบุ๊คแฟนเพจ วิศวกรรีพอร์ต หรือคลิก ที่นี่

อย่าลืมแชร์ให้เพื่อนอ่านเพื่อเป็นกำลังใจให้คนเขียนด้วยนะครับ ^_^

วิศวกรรีพอร์ต

คนธรรมดาผู้มีประสบการณ์ทำงานหลากหลายตำแหน่ง คลุกคลีกับการทำรีพอร์ตมาโดยตลอด สุดท้ายค้นพบแนวทางของตัวเอง จึงอยากแบ่งปันเคล็ดลับและประสบการณ์ให้กับผู้สนใจ

4 thoughts on “8 เทพอสูรที่ทำให้บทความวิศวกรรีพอร์ตแตกต่างจากหนังสือเอ็กเซล!!

  1. แค่แว่บแรกของวิธีการโปรยเข้าเนื้อหา กับ หัวข้อบทความต่าง ๆ ก็ชวนให้อ่าน และรู้สึกมีที่พึ่งของเรื่องที่เราไม่มีความรู้นะคะ ขอแบ่งปันให้เพื่อน ๆ ในออฟฟิศ จะได้แตกฉานกันต่อไปจ้า ดีใจที่สังคมมีคนแบบคุณนะคะ

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.