Business Intelligence เทรนด์การวิเคราะห์ข้อมูลยุคใหม่ที่กำลังมาแรง!!

คุณรู้จักเทรนด์การวิเคราะห์ข้อมูลยุคใหม่ที่เรียกว่า BI (Business Intelligence) ไหมครับ?

มันคืออะไรเหรอ?

ขอตอบด้วยภาษาชาวบ้านๆว่าบีไอ คือ “เครื่องมือ” ประมวลผลและสรุปข้อมูล ให้อยู่ในรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจ มักแสดงในรูปแบบของกราฟ เพราะกราฟแสดงให้เห็นภาพมากกว่าตาราง ตรงกับสำนวนที่ว่า ภาพหนึ่งภาพแทนคำนับพัน (Picture means thousand words)

45157803_s

บีไอกำลังมาแรงในต่างประเทศ หลายบริษัทในเมืองไทยก็เริ่มนำมาใช้กันแล้ว โปรแกรมที่ใช้กันก็เช่น

  • Board
  • Splunk
  • Tableau

เครื่องมืออย่าง SalesForce.com ก็นับเป็นหนึ่งในบีไอได้เหมือนกัน หากใครเคยใช้เจ้า SalesForce คงพอนึกออกว่ามีฟีเจอร์หนึ่งที่เรียกว่า Dashboard นั่นก็คือส่วนที่เป็นบีไอนั่นเอง

จุดเด่นของบีไอก็คือการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของชาร์ตต่างๆ ชาร์ตที่ไม่สามารถสร้างได้โดยโปรแกรมพื้นฐาน หรือชาร์ตไฮโซที่เราเคยเห็นในรายงานต่างประเทศ สามารถสร้างได้เพียงไม่กี่วินาทีด้วยเจ้าบีไอนี้ เช่น แสดงยอดขายในรูปแบบของแผนที่โลก ประเทศไหนขายเยอะให้แสดงเป็นเขียวเข้ม ประเทศไหนขายกลางๆแสดงด้วยสีเขียวอ่อน ประเทศไหนขายน้อยแสดงด้วยสีแดง เป็นต้น

นอกจากนี้ยังสามารถพลิกแพลงรูปแบบ หรือเจาะข้อมูลเข้าไปดูส่วนที่ลึกกว่าแบบง่ายๆแค่ปลายคลิก ปรื๊ดๆๆ

14737855_s

ฟังเผินๆ บีไอเป็นสิ่งที่น่าสนใจ แต่…เงินที่ต้องจ่ายมันเท่าไรล่ะ?

ผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่หลงใหลในเรื่องการวิเคราะห์และนำเสนออยู่แล้ว แต่พอมาเจอราคาของโปรแกรมเหล่านี้ก็อึ้งไปไม่น้อยเช่นกัน ถ้าบริษัทไหนไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้จริงๆ คงยากที่พนักงานอย่างเราๆจะได้ลองเล่นโปรแกรมเหล่านี้แบบถึงกึ๋น

32364608_s

จากประสบการณ์ตรงที่ชอบเรื่องพวกนี้เป็นทุน และเคยสัมผัสโปรแกรมเหล่านี้มาบ้าง ผมพบว่า พอเราได้สัมผัสกับโปรแกรมเหล่านี้ เรามักจะมุ่งประเด็นผิดไป…

ผิดยังไง? งง?

สิ่งสำคัญไม่ใช่เรื่องความยากง่ายในการใช้โปรแกรม ไม่ใช่รูปแบบหน้าตาของชาร์ตหรือรีพอร์ต

แต่เป็นเรื่องของ “ประเด็น” ที่ต้องการจะนำเสนอ

เครื่องมือต่างๆในบีไออำนวยความสะดวกเรื่องการสร้างชาร์ตหรือวิเคราะห์ข้อมูลให้หมดแล้ว ในยุดถัดจากนี้ไป การสร้างกราฟหรือการนำตัวเลขมาแปรเปลี่ยนเป็นภาพคงไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป

ปัญหาที่จะพบต่อไปคือ มีชาร์ตให้เลือกใช้มากมาย

จะใช้ชาร์ตแบบไหนดี?

และ..

เราเห็นประเด็นอะไรจากชาร์ตเหล่านั้นหรือเปล่า?

พอเรามีเครื่องมือใหม่ๆ ในช่วงแรก เราจะเกิดอาการ “ร้อนวิชา” อยากสร้างชาร์ตนั่นนู่นนี่ วิเคราะห์นู่นนั่นนี่เต็มไปหมด

แต่… มันมีประเด็นอะไรที่ต้องแสดงด้วยชาร์ตนั้นหรือเปล่า? ผู้ฟังจะอินไปกับชาร์ตนั้นหรือไม่?

เรากำลังให้ความสำคัญกับ “รูปแบบ” มากกว่า “ประเด็น” หรือเปล่า?

นี่คือความท้าทายใหม่ของนักวิเคราะห์และผู้บริหารที่จะต้องเจอ

แล้วจะต้องทำยังไงถึงจะเห็น “ประเด็น” เหล่านั้นล่ะ?

อาจมีเพียง 2 อย่างที่สามารถตอบโจทย์ข้อนี้ได้

หนึ่งคือ.. ประสบการณ์ 

และสองคือ… ความช่างสังเกต

ประสบการณ์แปลว่าสั่งสมได้ แต่อาจต้องใช้เวลา ถ้าอยากลดเวลาคงต้องแทนที่ด้วยความช่างสังเกต

การประหยัดเวลาจากความช่างสังเกตคงต้องใช้ตรรกะเป็นตัวช่วย

เราอาจต้องดูข้อมูลผ่านชาร์ตประมาณ 20 แบบ ถึงจะเจอประเด็นที่น่าสนใจประเด็นเดียว

หรือ.. อาจไม่เจออะไรเลยก็ได้…

โลกของการวิเคราะห์กำลังจะเปลี่ยนไป

แต่… เสียเงินค่าโปรแกรมไปแล้ว ^_^

.

หากคุณชอบบทความแนวนี้ สามารถอัพเดตบทความใหม่ๆโดยคลิก Like เฟสบุ๊คแฟนเพจ วิศวกรรีพอร์ต หรือคลิก ที่นี่

อย่าลืมแชร์ให้เพื่อนอ่าน เพื่อเป็นกำลังใจให้คนเขียนด้วยนะครับ ^_^

วิศวกรรีพอร์ต

คนธรรมดาผู้มีประสบการณ์ทำงานหลากหลายตำแหน่ง คลุกคลีกับการทำรีพอร์ตมาโดยตลอด สุดท้ายค้นพบแนวทางของตัวเอง จึงอยากแบ่งปันเคล็ดลับและประสบการณ์ให้กับผู้สนใจ

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.