สัมภาษณ์งาน กับ การทดสอบ Excel

คุณคิดว่าคำถามปราบเซียนสำหรับการสัมภาษณ์งาน คือคำถามแบบใดครับ?

16723453_s

เท่าที่ผมเคยเจอมา นั่นคือการพรีเซ็นต์เคสครับ

พรีเซ็นต์เคสคืออะไร?

พรีเซ็นต์เคสคือ การที่ผู้สัมภาษณ์ให้โจทย์กับผู้สมัคร (ก่อนวันสัมภาษณ์เพียงไม่กี่วัน) ว่าถ้าเจอสถานการณ์แบบนี้ คุณจะแก้ไขอย่างไร หรือ จากข้อมูลที่ให้มา คุณ “เห็น” อะไรบ้าง?

ไม่ใช่แค่พูดปากเปล่านะครับ ต้องเตรียมทำพรีเซ็นเตชั่น รวมทั้งไฟล์คำนวณ (ถ้าต้องคำนวณ) แล้วนำมาพรีเซ็นต์ให้ฟังในวันสัมภาษณ์

ตอนสัมภาษณ์ก็โดนยิงคำถามกระจุย ถ้าไม่แม่น พรุนแน่นอน

อ้อ! ต้องส่งไฟล์พรีเซ็นต์เตชั่นให้ดูก่อนด้วยนะครับ ไม่ใช่มาด้นสดเอาวันสัมภาษณ์เลย

ผมทราบจากพี่ที่อยู่แผนกเอชอาร์ว่า ผู้สมัครเกิน 50% พอรู้ว่าต้องทำเคส ก็ปฏิเสธการสัมภาษณ์กันหมด

จนอดแปลกใจไม่ได้ว่า

ทำไมต้องปฏิเสธ?

ถ้าไม่มีการพรีเซ็นต์งาน จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้สมัครคนนั้นเก่งจริงหรือเปล่า?

เพียงแค่การพูดคุยในเวลาสั้นๆ ไม่มีทางเลยที่จะตัดสินผู้สมัครคนนั้นได้

แท็กติกการกดดันผู้สัมภาษณ์ เพื่อดูว่าเค้าจะรับมือกับสถานการณ์บีบคั้นอย่างไร มัน “เอาต์” ไปแล้ว

บางครั้งถ้าอยากรู้ความสามารถด้านเอ็กเซล ผมมักได้รับมอบหมายให้ดูไฟล์คำนวณของผู้สมัครเพื่อประเมินว่า

เก่งเอ็กเซลจริงหรือเปล่า?

เวลาดู ผมไม่ได้ดูอะไรมากมายหรอกครับ มีหลักการเพียง 3 ข้อ

1 การออกแบบตาราง

การคำนวณจะง่ายหรือยาก อยู่ที่การออกแบบตารางเป็นหลัก

ถ้าออกแบบตารางดี ก็ผูกสูตรได้ง่าย ส่งข้อมูลต่อก็ง่าย มีระบบ เป็นระเบียบ

ในทางตรงข้าม ถ้าออกแบบตารางไม่ชัดเจน มีทดตรงนั้นที ตรงนี้ที ไม่แบ่งสัดส่วนว่าตัวเลขไหนเป็นสมมติฐาน ตัวเลขไหนเป็นผลจากการคำนวณ

แสดงว่าคนๆนั้นมีความคิดที่ยุ่งเหยิง

.

2 ความเรียบง่ายในการเขียนสูตร

การเขียนสูตรไม่จำเป็นต้องเขียนยาว หรือใช้ VBA เสมอไป

ในทางตรงข้าม ใช้สูตรที่เรียบง่าย ใช้ฟังก์ชั่นพื้นๆกลับดูน่าสนใจกว่า

ดังคำกล่าวว่า Simple is the best!

การเลือกใช้ฟังกชั่นแปลกๆ ไม่ได้แปลว่ารู้จักฟังก์ชั่นเยอะ

ในทางตรงข้าม อาจเป็นชนวนให้เกิดคำถามว่า

“ใช้ฟังก์ชั่นนี้ไม่ง่ายกว่าหรือ?”

.

3 การจัดเรียงลำดับการคำนวณ

หลักการง่ายๆสำหรับการจัดเรียงลำดับการคำนวณคือ

คำนวณจากซ้ายไปขวา และ บนลงล่าง

เชื่อหรือไม่ว่า ร้อยละ 90 ไม่ได้ทำตามนี้!

ส่วนใหญ่มักคำนวณแบบไร้ระเบียบ

เดี๋ยวคำนวณจากขวาไปซ้าย เดี๋ยวซ้ายไปขวา

เอาผลลัพธ์จากเซลล์ที่อยู่ด้านล่างเป็นอินพุตสำหรับเซลล์ที่อยู่ด้านบน

เราต้องตระหนักเสมอว่า เราไม่ได้ทำงานคนเดียว

ไฟล์ที่เราทำจะถูกส่งต่อ หรือนำไปอ้างอิงเสมอ

ถ้าออกแบบแล้วเข้าใจอยู่คนเดียว แต่คนอื่นไม่เข้าใจ ตัวเลขดูดีก็โอเคไป

แต่ถ้าตัวเลขห่างไกลจากที่คาดไว้แล้วล่ะก็

คำพูดแรกที่มักจะโดนคือ

“สูตรผิดหรือเปล่า?”

สมัยที่ผมตะลุยหางานใหม่นั้น ถ้ารู้ว่าต้องทำเคสไปพรีเซ็นต์ในวันสัมภาษณ์ ถือว่า “เข้าตีน”

เพราะนั่นคือ “โอกาส” ที่จะแสดงความสามารถ

และคือ “โอกาส” ที่จะได้ฟังคอมเมนต์จากว่าที่เจ้านาย หรือผู้บริหารด้วย

คอมเมนต์ที่ว่า ก็คือคำถามที่ยิงกระจุยนั่นล่ะครับ

ถ้าคอมเมนต์ดูธรรมดา ผมมองว่า การทำงานกับคนๆนี้อาจไม่สนุกก็ได้

การสัมภาษณ์ไม่ได้แปลว่า ผู้สัมภาษณ์เป็นฝ่ายเลือกผู้สมัครเสมอไป

ในทางตรงข้าม นั่นคือเวทีที่ให้ผู้สมัครเลือกผู้สัมภาษณ์เช่นกัน

ฉันใดก็ฉันนั้น ^__^

.

หากคุณชอบบทความแนวนี้ สามารถอัพเดตบทความใหม่ๆโดยคลิก Like เฟสบุ๊คแฟนเพจ วิศวกรรีพอร์ต หรือคลิก ที่นี่

อย่าลืมแชร์ให้เพื่อนอ่านเพื่อเป็นกำลังใจให้คนเขียนด้วยนะครับ ^_^

 

วิศวกรรีพอร์ต

คนธรรมดาผู้มีประสบการณ์ทำงานหลากหลายตำแหน่ง คลุกคลีกับการทำรีพอร์ตมาโดยตลอด สุดท้ายค้นพบแนวทางของตัวเอง จึงอยากแบ่งปันเคล็ดลับและประสบการณ์ให้กับผู้สนใจ

One thought on “สัมภาษณ์งาน กับ การทดสอบ Excel

  1. พวกใช้ค่าตั้งต้นมาจากชีตอื่น แล้วลากลิงค์มาคำนวณในอีกชีตนี่หนักมากเลยเวลาแชร์งาน พารามาเลย

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.