กฎข้อ 1 ของการสร้างกราฟ

เมื่อช่วงต้นปีที่แล้ว ผมเห็นกราฟแสดงเรตติ้งของดิจิตอลทีวีช่วงเดือน ธันวาคม 2014 เปรียบเทียบกับ มกราคม 2015 ถูกแชร์อยู่บนเฟสบุ๊ค

กราฟที่ว่ามีหน้าตาคล้ายๆแบบนี้ครับ

OriginalBarChart_160221

(ผมไม่ได้นำกราฟของจริงมาลงในบทความนะครับ เพราะไม่ต้องการพาดพิงถึงคนออกแบบกราฟ เจตนาเพียงเพื่อต้องการนำเสนอมุมมองอื่นเท่านั้น)

คุณชอบกราฟนี้ไหมครับ?

ดูผาดๆเหมือนจะโอเคนะครับ

แต่ถ้าวิเคราะห์ข้อมูล เราอาจรู้สึกรำคาญเล็กๆ เพราะต้องมองซ้ายที ขวาที สลับไปสลับมา

กว่าจะเห็นว่า ช่อง WorkPoint TV กับ Mono มีเรตติ้งสูงขึ้น ใช้เวลาเกือบนาที!

ผมเรียกการออกแบบกราฟในลักษณะเช่นนี้ว่า

“คิดว่าคนอ่านคือเชอร์ล็อคโฮมส์”

เพราะต้องให้คนอ่านคิดต่ออีกหลายตลบ และ “เดา” ให้ได้ว่า กราฟนี้สื่อถึงอะไร

กราฟนี้ถูกออกแบบโดยฝ่าฝืนกฎข้อที่ 1 ของการสร้างกราฟ

กฎที่ว่าคือ

หา ประเด็น ที่ต้องการนำเสนอ ก่อนเลือกกราฟ

ถ้า ประเด็น ที่ต้องการสื่อคือ 

ช่อง WorkPoint TV กับ Mono มีเรตติ้งสูงขึ้น ในขณะที่ช่อง 7 เสียเรตติ้งให้ช่องอื่น

เราอาจนำเสนอ โดยใช้กราฟบาร์คู่แบบนี้ครับ

Cluster Bar Chart

ถ้าคิดว่ากราฟแบบนี้เห็นบ่อยแล้ว

ลองใช้กราฟเทอร์โมมิเตอร์แบบนี้ครับ

Thermometer Chart

โดยส่วนตัวแล้วผมชอบกราฟนี้ เพราะเป็นกราฟที่แสดงข้อมูลชัดเจน สื่อประเด็น

มีข้อเสียเพียงนิดเดียวคือ คนส่วนใหญ่อาจไม่คุ้นเคย

กราฟนี้อ่านยังไงเหรอ?

ง่ายมากครับ

ให้มองว่ากราฟแต่ละแท่งคือเทอร์โมมิเตอร์ครับ มีองค์ประกอบอยู่ 2 อย่างคือ ไส้ปรอท (สีน้ำเงินเข้ม) กับแท่งปรอท (สีฟ้า)

ถ้าไส้ปรอททะลุจนแท่งปรอทแตก (เช่น WorkPoint TV, Mono) แสดงว่า ค่าที่เราสนใจ (Jan 15) ดีกว่า ค่าเปรียบเทียบ (Dec 14)

ในทางตรงข้าม ถ้าไส้ปรอทอยู่ต่ำกว่าขอบแท่งปรอท (เช่น ช่อง 7 (Ch7)) นั่นแสดงว่า ค่าที่เราสนใจ (Jan 15) มีค่าน้อยกว่า ค่าเปรียบเทียบ (Dec 14)

(ใครไม่เคยเห็นกราฟนี้มาก่อน อาจงงเล็กน้อยนะครับ ถ้าลองมองตามวิธีที่ผมบอก ใช้เวลาไม่เกิน 10 วินาที รับรองต้องร้องอ๋อ แน่นอน ^^)

แต่ถ้าประเด็นของเราคือ รูปแบบการกระจายตัวของเรตติ้งเปลี่ยนไปจากเดิม เราอาจใช้กราฟผีเสื้อ (Butterfly Chart, บางคนอาจเรียกกราฟทอร์นาโด) นำเสนอครับ

กราฟผีเสื้อที่ว่า หน้าตาแบบนี้ครับ

ฺีButterfly Chart

กราฟพวกนี้บอกตัวเลขไม่ชัดน่ะ มีวิธีอื่นที่บอกตัวเลขชัดๆไหม?

ถ้าคิดว่าต้องการแสดงตัวเลขเรตติ้งประกอบแบบชัดๆ เราอาจนำเสนอโดยใช้ตารางก็ไม่ผิดอะไรครับ

แต่แนะนำว่า ปรับตารางนิดนึง แบบนี้ครับ

Table with conditional formatting

การนำเสนอด้วยตาราง มีข้อดีและข้อเสียนะครับ

ข้อดีคือ เห็นข้อมูลละเอียด ชัดเจน

ข้อเสียคือ ข้อมูลอาจเยอะเกินไป คนอ่านอาจใช้เวลาทำความเข้าใจมากกว่านำเสนอด้วยกราฟ (เผลอๆจะพาลหงุดหงิดใส่เรา T_T)

.

ที่ผมยกตัวอย่าง เป็นเพียงส่วนหนึ่งของรูปแบบ ที่สามารถนำไปใช้ได้เท่านั้น

ถ้าต้องการสื่อถึงประเด็นอื่นๆ สามารถนำเสนอได้อีกหลายรูปแบบ

สิ่งสำคัญคือ

อย่าล็อคกราฟ ก่อนหาประเด็น

หลายคนยึดติดกับตรงนี้ พอเห็นข้อมูลเป็น % ก็ซัดกราฟวงกลม (Pie Chart) ทันที

(ใครสนใจรายละเอียดเรื่องนี้ สามารถอ่านได้จากบทความเรื่อง เผยเคล็ดลับ ใช้กราฟอย่างมืออาชีพ หรือคลิกอ่าน ที่นี่ ครับ)

โดยที่ยังไม่ได้วิเคราะห์ข้อมูลเลยว่า

ประเด็นที่ต้องการสื่อคืออะไร?

ยิ่งถ้านำเสนอในที่ประชุมใหญ่ แล้วกำลังเจอผู้บริหารกำลังหงุดหงิดกับเรื่องก่อนหน้านี้

อาจโดนยิง(คำถาม)พรุนตั้งแต่แรกเริ่ม

แทนที่จะได้เกิด กลับโดนน็อคตั้งแต่หมัดแรก

ซะงั้นอ่ะ!

.

หากคุณชอบบทความแนวนี้ สามารถอัพเดตบทความใหม่ๆโดยคลิก Like เฟสบุ๊คแฟนเพจ วิศวกรรีพอร์ต หรือคลิก ที่นี่

อย่าลืมแชร์ให้เพื่อนอ่านเพื่อเป็นกำลังใจให้คนเขียนด้วยนะครับ ^_^

 

 

 

 

วิศวกรรีพอร์ต

คนธรรมดาผู้มีประสบการณ์ทำงานหลากหลายตำแหน่ง คลุกคลีกับการทำรีพอร์ตมาโดยตลอด สุดท้ายค้นพบแนวทางของตัวเอง จึงอยากแบ่งปันเคล็ดลับและประสบการณ์ให้กับผู้สนใจ

4 thoughts on “กฎข้อ 1 ของการสร้างกราฟ

  1. ขอบคุณมากครับ ตอนนี้ทางทีวีแข่งกันทำกราฟฟิค ยิ่งผลโพลด้วยแล้ว เห็นกราฟที่ดูไม่ค่อยรู้เรื่องเยอะมากครับ
    จัดออโต้มาอย่างเดียวจริงๆ
    คนทำงานคงได้ประโยชน์จากบทความนี้มากครับ

  2. ชอบมากค่ะแต่จะพยามยามศึกษาให้มากกว่านี้

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.