แฉเคล็ดลับ กราฟพูดได้!!

คุณรู้จัก “กราฟพูดได้” ไหมครับ?

กราฟพูดได้ คือ กราฟที่เห็นปุ๊ป แล้วรู้ปั๊ป ว่าต้องการสื่อถึงอะไร

หรือเห็นแล้วพอจะเดาได้ว่า ผู้พูดกำลังจะพูดอะไร

กราฟพูดได้ที่ว่า หน้าตาประมาณนี้ครับ

Top 3 column chart

หรือแบบนี้ครับ

Inventory Control

เทคนิคที่ทำให้กราฟพูดได้คือ “สื่อ-ซ้อน-ซ่อน”

สื่อ

สื่อว่ากำลังจะบอกอะไร ประเด็นของกราฟนี้คืออะไร

เทคนิคที่มักถูกนำมาใช้ เช่น

  • Data Label
  • Data Label แบบ Callout (มีเฉพาะเวอร์ชั่น 2013 ขึ้นไป)
  • เปลี่ยนสีกราฟ
  • เปลี่ยนรูปแบบกราฟ เช่น ใช้กราฟเส้นประ

 

ซ้อน

นำกราฟหลายๆกราฟมาซ้อนกัน ต่อกัน หรือประกอบร่างเข้าด้วยกัน เพื่อสื่อความหมายให้ชัดขึ้น

1 กราฟที่เห็น อาจประกอบด้วย 3-4 กราฟซ้อนกันก็เป็นได้

 

ซ่อน

ซ่อนบางอย่างเพื่อหลอกตา เพื่อขับเด่น สิ่งที่ต้องการสื่อ

เทคนิคที่มักถูกนำมาใช้ เช่น

  • ทำกราฟเส้นให้ไม่มีเส้น (No Line)
  • ทำส่วนล่างของกราฟ Stacked ให้ไม่มีสี (No Fill) และ ไม่มีเส้นขอบ (No Line) ตัวอย่างที่เห็นชัดมากคือ กราฟน้ำตก (Waterfall)
  • ซ๋อนองค์ประกอบกราฟที่ไม่ได้สื่อประเด็นทิ้งไป เช่น
    • Gridlines
    • Legend
    • แกน X
    • แกน Y

.

เรามักนำทั้ง “สื่อ-ซ้อน-ซ่อน” มาฟีเจอร์ริ่งกันในกราฟเดียว เพื่อให้กราฟ “เนียน”

แบบนี้ครับ

Slide41

Slide42.PNG

Slide44.PNG

Slide45.PNG

Slide47.PNG

Slide49.PNG

กราฟพูดได้ไม่ได้มีเพียงแค่นี้นะครับ มีอีกเป็นสิบแบบ ประยุกต์ใช้ได้อีกมากมาย

นอกจากเทคนิค “สื่อ-ซ้อน-ซ่อน” แล้ว การเตรียมตารางข้อมูล ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน

ถ้าเตรียมตารางข้อมูลดี พร้อมใช้งาน การสร้างกราฟก็เป็นเรื่องง่าย

ในทางตรงข้าม ถ้าเตรียมตารางข้อมูลไม่ดี การสร้างกราฟก็จะยาก ยิ่งสร้างกราฟพูดได้ ยิ่งยากเป็นทวีคูณ T_T

.

จุดเด่นของการสร้างกราฟด้วย MS Excel คือ เราสามารถใส่เงื่อนไขลงไปในตารางคำนวณได้

สามารถนำฟังก์ชั่นของเอ็กเซลมาช่วยเขียนเงื่อนไข หรือเขียนสูตรได้ง่ายมาก

กราฟพูดได้จึงเป็นกราฟไดนามิกส์ สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามข้อมูล ไม่จำเป็นต้องหน้าตาแบบนี้เป๊ะๆเสมอไป

ฟังก์ชั่นที่ใช้บ่อยๆในการสร้างสรรค์กราฟพูดได้ เช่น

  • IF
  • AND
  • OR
  • NA()
  • LARGE
  • SMALL

จะเห็นได้ว่า ไม่ใช่ฟังก์ชั่นที่ใช้ยาก เป็นฟังก์ชั่นที่ต้องการตัวแปร (Argument) เพียงไม่กี่ตัว

ส่วนใหญ๋เป็นฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบตรรกะ โดยเฉพาะฟังก์ชั่น IF ใช้บ่อยมั่กๆ ^_^

.

ถ้าเราลองฝึกสร้างกราฟพูดได้ไปซักระยะนึง เราจะพบว่า เทคนิคที่ใช้มีไม่กี่เทคนิค

หลายกราฟใช้เทคนิคคล้ายๆกัน อยู่ที่ว่าจะเอาอะไรมาผสมกับอะไร

สิ่งที่สำคัญมากกว่าเทคนิคคือ จินตนาการ ว่าจะสร้างกราฟออกมาหน้าตาแบบไหน

ทำยังไงให้ผู้ฟังเข้าใจ…

เมื่อใดที่เราได้ทั้ง เทคนิค และ จินตนาการ ก็เหมือนกับเราได้ ลูกแก้วสารพัดนึก

สามารถสร้างสรรค์กราฟได้ตามใจนึก

เมื่อนั้น เราจะได้ พลังแห่งการสื่อสาร มาครอบครอง

และ “การสร้างกราฟ” ก็จะไม่ได้เป็นแค่ การสร้างกราฟ อีกต่อไป…

.

หากคุณชอบบทความแนวนี้ สามารถอัพเดตบทความใหม่ๆโดยคลิก Like เฟสบุ๊คแฟนเพจ วิศวกรรีพอร์ต หรือคลิก ที่นี่

อย่าลืมแชร์ให้เพื่อนอ่านเพื่อเป็นกำลังใจให้คนเขียนด้วยนะครับ ^_^

วิศวกรรีพอร์ต

คนธรรมดาผู้มีประสบการณ์ทำงานหลากหลายตำแหน่ง คลุกคลีกับการทำรีพอร์ตมาโดยตลอด สุดท้ายค้นพบแนวทางของตัวเอง จึงอยากแบ่งปันเคล็ดลับและประสบการณ์ให้กับผู้สนใจ

5 thoughts on “แฉเคล็ดลับ กราฟพูดได้!!

  1. ขอบคุณมากๆค่ะสำหรับข้อมูลดีๆ

    Thanks & Regards,

    Somjai Panchamawat

    Contact Center Fl.10

    *Krungthai Card Public Company Limited*

    Tel. +66 2665 5135

    2016-04-19 19:25 GMT+07:00 “วิศวกรรีพอร์ต” :

    > วิศวกรรีพอร์ต posted: “คุณรู้จัก “กราฟพูดได้” ไหมครับ? กราฟพูดได้
    > คือ กราฟที่เห็นปุ๊ป แล้วรู้ปั๊ปว่าต้องการสื่อถึงอะไร
    > หรือเห็นแล้วพอจะเดาได้ว่า ผู้พูดกำลังจะพูดว่าอะไร กราฟพูดได้ที่ว่า
    > หน้าตาประมาณนี้ครับ หรือแบบนี้ครับ เทคนิคที่ทำให้กราฟพูดได้คือ
    > “สื่อ-ซ่อน-ซ้อน” สื่”
    >

  2. ทำอย่างไรถึงจะให้ chart แสดง callout ใน column D (Summer/ Flood/ Winter) บนกราฟเส้นแบบกราฟที่ 3 ได้คะ?

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.