เทคนิคจัดการกราฟเส้นสปาเก็ตตี้ [Spaghetti Chart]

“ผู้บริหารบอกว่า กราฟแบบนี้ดูไม่รู้เรื่อง ควรปรับยังไงดีคะ?”
“กราฟแบบไหนครับ” ผมถาม
“กราฟนี้ค่ะ” ลูกศิษย์เปิดคอมพ์ให้ดู

SpaghettiGraph_1_170417.png

ปราดแรกที่เห็น ผมคิดว่าผู้บริหารคนนั้นพูดถูกแล้ว เพราะดูไม่รู้เรื่องจริงๆ !

ผมเรียกกราฟแบบนี้ว่า กราฟสปาเก็ตตี้

เพราะดูยุ่งเหยิงมาก เหมือนเส้นสปาเก็ตตี้พันกันไปมา

ที่สำคัญคือ ไม่สื่อประเด็นอะไรเลย

พูดง่ายๆ… ห้ามใช้ !!

“แล้วตอนนั้นแก้ปัญหายังไงครับ” ผมถามต่อ

“เค้าบอกว่า อยากเห็นตัวเลขด้วย ก็เลยใส่ตารางเพิ่มไปให้” ลูกศิษย์เล่าให้ฟังต่อ พร้อมแสดงกราฟที่ปรับแล้วให้ดู

Slide2.JPG

“เออะ… “ (ผมพยายามไม่พูดคำว่า เอิ่ม เพราะเดี๋ยวจะดูไม่สุภาพ)

แต่เห็นแล้ว รู้สึกปวดตับขึ้นมาทันใด…

บางคนอาจคิดว่า กราฟเส้นพันกันทำให้ดูไม่รู้เรื่อง

งั้นใส่ Data Table ด้วยดีกว่า จะได้เห็นตัวเลขช้ดๆ

แต่… ผลลัพธ์กลับตรงกันข้าม

หรือ.. ทำให้ดูแย่ลงด้วยซ้ำ

สั้นๆเลย… ห้ามทำ !

“ประเด็นที่ต้องการนำเสนอคืออะไรครับ?” ผมถาม

“ต้องการนำเสนอข้อมูลย้อนหลัง 5 ปีค่ะ” ลูกศิษย์ตอบ

“แล้วทำไมต้องแสดงข้อมูลเป็นรายเดือน แสดงเป็นรายปีได้ไหม?”

“ต้องแสดงเป็นรายเดือนค่ะ เพราะต้องทำให้เห็น Seasonal Impact ด้วย”

“ตอนคุณนำเสนอข้อมูลนี้ คุณจะพูดว่ายังไงครับ?”

“ก็จะบอกว่า ยอดขายปี 2016 สูงสุดในรอบ 5 ปี เพราะทำแคมเปญ A”

บิงโก!!

นั่นแสดงว่า เราต้องการเน้นปี 2016 งั้นก็ทำกราฟปี 2016 ให้เด่นๆไปเลย

ทำปี 2016 ให้เป็น “พระเอก”

ส่วนกราฟปีอื่นๆ เป็นแค่ข้อมูลประกอบ งั้นก็ทำให้เป็น “ตัวประกอบ”

การมี “พระเอก” และ “ตัวประกอบ” ทำให้เล่าเรื่องง่ายขึ้น

อย่าให้ “ตัวประกอบ” เด่นเกิน “พระเอก”

แล้วกราฟจะมีจุดโฟกัส สื่อความหมาย

สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ บอกชื่อกราฟที่ปลายเส้น

อย่าบอกชื่อกราฟด้วย Legend ด้านล่าง เพราะดูแล้วชวนหงุดหงิดมาก

ตอนสร้างกราฟ เราอาจลืมมองจุดนี้ไป

ในมุมของคนอ่านกราฟแล้ว เค้าไม่รู้ว่ากราฟสีไหนคือปีอะไร

ผลก็คือ ต้องขยับคางขึ้นลงหลายรอบ เพื่อดูว่า กราฟสีฟ้าคือปี 2012, กราฟสีส้มคือปี 2013

ยิ่งมีกราฟ 5 เส้น แปลว่าต้องขยับขึ้นลง 5 รอบ มันชวนหงุดหงิดจริงๆนะ

พอปรับแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้คือกราฟหน้าตาแบบนี้ครับ

SpaghettiGraph_3_170417.png

กราฟนี้ ในเชิงเทคนิคแล้วสร้างง่ายมาก แต่เราอาจมองข้ามโดยไม่ตั้งใจ ^__^

ถ้าต้องการเน้นเรื่องยอดขายเฉลี่ย ก็อาจปรับเป็นแบบนี้

SpaghettiGraph_4_170417.png

กราฟนี้ดูเผินๆเหมือนจะโอเค แต่การมีตัวเลขค่าเฉลี่ยด้านขวา อาจโดนดึงความสนใจไปพอควร

อย่างไรก็ตาม ถ้าประเด็นที่ต้องการสื่อเกี่ยวข้องกับค่าเฉลี่ย วิธีนี้ก็ไม่เลว…

แต่… ถ้าข้อมูลมีเยอะ อย่าใช้ Data Table นะ ขอเหอะ!

Slide5.JPG

(ดูแย่กว่าเดิมเยอะเลยใช่ไหมครับ)

ถ้าอยากแสดงตัวเลขด้วย ให้ใช้ Data Label เฉพาะกราฟ “พระเอก” เส้นเดียว

ห้าม! บอกตัวเลขทั้ง 5 ปี เพราะจะไม่สื่ออะไรเลย!

กราฟที่ได้จะหน้าตาประมาณนี้

SpaghettiGraph_6_170417.png

ลองมาดูกันจะๆแบบ Before vs After กันครับ

SpaghettiGraph_BeforevsAfter_170417.png

หรือถ้าต้องการแสดงตัวเลขด้วย มา!

SpaghettiGraph_BeforevsAfter_WithLegend_170417.png

สิ่งสำคัญสำหรับการสร้างกราฟคือ ประเด็นที่ต้องการนำเสนอ ไม่ใช่ ตัวเลข

เวลาสร้างกราฟทุกครั้ง ให้นึกว่า ตอนนำเสนอ จะพูดอะไร

นั่นล่ะครับ! ประเด็นที่ต้องการนำเสนอ

(เราคงไม่นำเสนอ โดยอ่านตัวเลขบนกราฟให้ฟังใช่ไหมครับ ^^)

หยิบประเด็นนั้นขึ้นมา “ชูโรง” แล้วทำกราฟให้ “พูดได้”

ที่เหลือ…. วัดกันหน้างานครับ ^__^

.

ใครสนใจไฟล์ Excel ของกราฟในบทความนี้ ดาวน์โหลดจากลิงค์ด้านล่างได้เลยครับ ^__^

SpaghettiGraph_161224

.

หากคุณชอบบทความแนวนี้ สามารถอัพเดตบทความใหม่ๆโดยคลิก Like เฟซบุ๊กแฟนเพจ วิศวกรรีพอร์ต หรือคลิก ที่นี่

อย่าลืมแชร์ให้เพื่อนอ่านเพื่อเป็นกำลังใจให้คนเขียนด้วยนะครับ ^__^

วิศวกรรีพอร์ต

คนธรรมดาผู้มีประสบการณ์ทำงานหลากหลายตำแหน่ง คลุกคลีกับการทำรีพอร์ตมาโดยตลอด สุดท้ายค้นพบแนวทางของตัวเอง จึงอยากแบ่งปันเคล็ดลับและประสบการณ์ให้กับผู้สนใจ

2 thoughts on “เทคนิคจัดการกราฟเส้นสปาเก็ตตี้ [Spaghetti Chart]

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.