Site icon วิศวกรรีพอร์ต

เทคนิคเปลี่ยน Pie Chart แบบบ้านๆให้ดูโปร

“สร้างกราฟวงกลมแล้วดูไม่โปรเลย ปรับยังไงดีคะ?” 

ผมได้รับคำถามนี้จากลูกศิษย์คนหนึ่ง

กราฟที่ว่า หน้าตาแบบนี้ครับ

ถ้าคุณเป็นผม จะตอบว่าอย่างไรดีครับ?

ติ๊กต่อก ติ๊กต่อก…

เรามาวิเคราะห์กันทีละสเต็ปครับ

ปราดแรกที่เห็นกราฟนี้ ต้องบอกเลยว่า

ดูไม่รู้เรื่อง!

เพราะไม่รู้ว่า “เค้ก” แต่ละชิ้น แสดงข้อมูลของประเทศใด

เหลือบดูข้อมูลดิบ หน้าตาเป็นแบบนี้ครับ

“งั้นปรับ Legend เป็นแบบนี้ดีไหมคะ” ลูกศิษย์ลองปรับกราฟเป็น

“ดูดีขึ้นครับ แต่การใช้กราฟวงกลม (Pie Chart) ควรแสดงข้อมูลเป็นเปอร์เซ็นต์ครับ”

“เพื่อให้ดูง่าย ไม่ต้องใช้ Legend ครับ ให้บอกชื่อ “เค้ก” แต่ละชิ้นด้วย Data Label ไปเลยครับ ผมตอบ

คลิกขวาที่ Data Label แล้วเลือก Format Data Labels ครับ

ติ๊กเลือกคำว่า Percentage เพื่อโชว์ตัวเลขเป็นเปอร์เซ็นต์

และติ๊กคำว่า Category Name เพื่อแสดงชื่อประเทศลงบนกราฟ

“ดูดีขึ้น แต่ยังดูแหม่งๆนิดนึงอ่ะค่ะ” ลูกศิษย์แย้ง

ลองปรับ Separator จาก , (comma) เป็น New Line ครับ Data Label จะดูเป็นระเบียบขึ้น

เทคนิคเล็กๆน้อยๆแบบนี้ หลายคนมองข้าม แต่มีประโยชน์ไม่เล็กน้อย ^__^

ในมุมมองของผม แม้จะปรับกราฟแล้ว กราฟนี้ก็ยังดู “บ้านๆ”

เพราะมีเค้กถึง 7 ชิ้น หลายชิ้นเป็น “ชิ้นเล็กชิ้นน้อย” ซึ่งในการนำเสนอ เรามักไม่สนใจชิ้นเล็กชิ้นน้อยพวกนี้

เราจึงควร “กรุ๊ป” ชิ้นเล็กชิ้นน้อยเข้าด้วยกัน ให้มีเค้กทั้งหมดไม่เกิน 5 ชิ้น (จะ 4 ชิ้น, 3 ชิ้นก็ได้)

ใช่ครับ เราควรกรุ๊ป Singapore, Vietnam และ Malaysia เข้าด้วยกันเป็น Other

เวลาทำ ปรับข้อมูลดิบเป็นแบบนี้ก่อนครับ

ดูสบายตาขึ้นใช่ไหมครับ ^__^

แต่ก็ยังถือเป็นกราฟบ้านๆ อยู่ดี เพราะสีไม่สวย และไม่สื่อเอาเสียเลย

ลองปรับ Color และ Style ครับ

อ้อ! ถ้าใครใช้ Excel 2013 หรือ 2016 ไม่ต้องนั่งปรับเองนะครับ เรามี “ผู้ช่วย” ครับ

“ผู้ช่วย” ที่ว่า อยู่ตรงนี้ครับ

ดูดีขึ้นใช่ไหมล่ะ ^__^

กราฟแบบนี้ ผมให้คำนิยามว่า

“สวยแต่รูป จูบไม่หอม”

เพราะกราฟไม่สื่อความหมาย!

ถ้าเป็นผม ผมจะสร้าง จุดโฟกัส ของกราฟขึ้นมา

เช่น ทำให้ข้อมูลของ Thailand ดูเด่นขึ้นมาเป็นจุดโฟกัสไปเลย และใช้ Chart Title ช่วยขยายความจุดโฟกัสนั้น

เวลาต้องการสื่อข้อความใด ให้พิมพ์สิ่งนั้นลงไปในเซลล์ใดเซลล์นึง (ในที่นี่ผมพิมพ์ในเซลล์ D1)

จากนั้นเซ็ตให้ Chart Title แสดงข้อมูลที่ต้องการสื่อ แบบนี้

(ไม่แนะนำให้พิมพ์ลงไปตรงๆใน Chart Title เพราะไม่สะดวกในทางปฏิบัติ)

ดูโปรขึ้นเยอะใช่ไหมครับ ^__^

นี่คือกราฟที่มือโปรเค้าทำกันครับ!

กราฟนี้สื่อความหมายว่า ยอดขายส่วนใหญ่มาจาก Thailand เราเลยเน้นสีของ Thailand ให้เด่นกว่าประเทศอื่นๆ

ส่วนประเทศอื่นๆ ไม่จำเป็นต้องใช้สีต่างกัน ใช้สีเดียวกันก็ได้ แค่มีชื่อและตัวเลขกำกับก็ชัดเจนพอแล้ว

การทำให้มีหลายสี นอกจากไม่สื่อความหมายใดๆแล้ว ยังทำให้ดูรก (โดยไม่ตั้งใจ)

ลองเปรียบเทียบแบบจะๆกันไปเลย!

“อยากแสดงส่วนที่เป็น Other ด้วยค่ะ ว่าเกิดจากประเทศอะไรบ้าง” ลูกศิษย์ยังไม่พอใจ

ถ้าต้องการแสดงรายละเอียดของ Other ด้วย เราเปลี่ยนรูปแบบกราฟเป็น Bar Of Pie ดีกว่าครับ

แต่สร้างออกมาแล้วจะไม่สวย บอกเลย T_T

เราก็ใช้เทคนิคเดิม ปรับให้เป็นแบบนี้ ดูดีขึ้นเป็นกองครับ ^__^

สำหรับเคสนี้ ผมใช้หลักเกณฑ์ว่า ถ้าเค้กชิ้นใดมีขนาดน้อยกว่า 10% ให้จรลีเป็น Bar Chart

หรือเลือก Split Series By : Percentage value

Values less than : 10%

ถ้าไม่อยากแบ่งด้วยเปอร์เซ็นต์ (Percentage value) ยังมีอีก 3 ออปชั่นให้เลือกครับ

Position คือ บอกไปเลยว่า ข้อมูลที่เป็น Bar Chart มีจำนวนเท่าไร (นับจากข้อมูลท้ายสุด)

Value คือ กำหนดว่า ถ้าค่าน้อยกว่าเท่านี้ (เช่น 30) ให้จรลีเป็น Bar Chart

Custom คือ กำหนดเอง (แบบแมนวล) ว่าข้อมูลที่จะให้เป็น Bart Chart มีข้อมูลใดบ้าง

“อยากปรับตัวเลขตรงส่วนที่เป็น Bar Chart ได้ไหมคะ”

“คืออยากให้ตัวเลขของ Bar Chart รวมกันได้ 100% ไม่ใช่รวมกันได้ 16% น่ะค่ะ”

“ปรับยังไงดีคะ?”

(ลูกศิษย์ผมนี่เรื่องมากเนอะ คุณว่ามั๊ย ^^)

ถ้าความต้องการเป็นเช่นนี้ คงไม่มีวิธีทางตรงที่สามารถทำได้ครับ

แต่..เรายังมีวิธีทางอ้อมครับ ^__^

โดยการใช้ Data Label แบบ Value From Cells 

การจะทำเช่นนั้นได้ ต้องเพิ่มคอลัมน์ช่วย (Helper Column) ขึ้นมาก่อนครับ

ทริกก็คือ ให้แสดง Data Label จากคอลัมน์ช่วยนั่นเอง

คอลัมน์ช่วยนี้ ต้องเขียนสูตรเป็น 2 ส่วนครับ

ส่วนที่ 1 คิดเปอร์เซ็นต์ของเค้กในกราฟวงกลม แบบนี้ครับ

ส่วนที่ 2 คิดเปอร์เซ็นต์ของ Bar Chart แบบนี้ครับ

Data Label ในส่วนที่เป็น Bar Chart ไม่ต้องติ๊กเลือก Percentage

แต่ให้เลือกคำว่า Value From Cells แทน

พอคลิกคำว่า Value From Cells จะมีหน้าต่างขึ้นมา ถามว่า ต้องการแสดงด้วยข้อมูลใด

เราก็เลือกคอลัมน์ช่วยที่เพิ่งสร้างขึ้นมาเมื่อตะกี๊

ชาดา!

ถ้าคิดว่าดู “จืดๆ” ไปนิด ลองปรับ Style เป็นแบบนี้ก็ไม่เลวนะครับ

อ้อ! ผมไม่ได้นั่งปรับแบบแมนวลทีละอันนะครับ ผมมี “ผู้ช่วย” ครับ ^_^

ลองดู Before vs After แบบนี้กันบ้าง

อย่างไรก็ตาม กราฟแบบนี้อาจดูสะดุดตาเมื่อเห็นครั้งแรก แต่อาจไม่เหมาะสำหรับบางกรณี ยิ่งนำไปรวมกับกราฟอื่นๆ ถ้าไม่แม่นเรื่องสีจริงๆ อาจทำให้ภาพรวมดูแย่ได้

โดยส่วนตัวแล้ว ถ้าเป็นการนำเสนอ หรือการทำรีพอร์ตที่เป็นทางการ ผมชอบกราฟที่เรียบง่ายแบบนี้มากกว่าครับ

ใครสนใจไฟล์ตัวอย่างที่ผมใช้ สามารถดาวน์โหลดจากลิงค์นี้ได้เลยครับ

piechart_technique_170127

ดูเหมือนขั้นตอนเยอะ แต่ทำจริงๆ 1 นาทีก็เสร็จครับ ^__^

กราฟจะดูโปร หรือไม่โปร ความสวยงามคือปัจจัยนึง แต่ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่สุด

ปัจจัยสำคัญที่สุดคือ กราฟนั้นดูแล้วสื่อความหมายหรือเปล่า?

การทำให้สื่อความหมาย ต้องมาากการวิเคราะห์ข้อมูลเท่านั้น

หลายคนมักสนใจแค่ว่าจะใช้กราฟแบบใด หรือปรับกราฟยังไงให้สวย แต่ไม่ได้สนใจเลยว่า “ข้อความ” (message) ที่ต้องการส่งจากกราฟนั้นคืออะไร

สุดท้ายแล้ว ก็ได้แค่กราฟ “สวยแต่รูป จูบไม่หอม”…

ถ้าอยากได้กราฟที่ จูบแล้วหอม

อย่าลืมวิเคราะห์ข้อมูลก่อน แล้ว “พรมน้ำหอม” ลงไปนะครับ ^__^

.

หากคุณชอบคลิปนี้ สามารถอัพเดตคลิปหรือบทความใหม่ๆ โดยคลิก Like เฟสบุ๊คแฟนเพจ วิศวกรรีพอร์ต หรือคลิก ที่นี่

อย่าลืมแชร์ให้เพื่อนอ่านเพื่อเป็นกำลังใจให้คนเขียนด้วยนะครับ ^_^

Exit mobile version