Site icon วิศวกรรีพอร์ต

แฉ! เทคนิคสร้างกราฟวิเคราะห์แบบมือโปร [Waterfall Chart Analysis]

หลายคนอาจเคยเห็นบริษัทที่ปรึกษาชื่อดัง นำเสนอข้อมูลด้วยกราฟเท่ๆ แนวๆ และคิดในใจว่า

“ต้องใช้โปรแกรมไฮโซถึงจะสร้างกราฟพวกนี้ได้หรือเปล่าหนอ?”

ถูกส่วนหนึ่งครับ กราฟพวกนี้มักถูกสร้างจากโปรแกรมที่เราไม่ค่อยรู้จัก เช่น Think-Cell, Tableau

แต่ไม่ได้หมายความว่าเอ็กเซลจะสร้างไม่ได้เสมอไป

แม้กราฟพวกนี้จะไม่ใช่กราฟมาตรฐานของเอ็กเซล แต่เราก็สามารถปรุงแต่งเพื่อประยุกต์ใช้ได้เช่นกัน

ในที่นี้ขอยกตัวอย่างการสร้างกราฟน้ำตก (Waterfall Chart) หรือบางคนอาจจะเรียกว่ากราฟสะพาน (Bridge Analysis)

กราฟที่ว่ามีหน้าตาดังนี้ครับ

Waterfall Chart

สมมติเราต้องการวิเคราะห์ว่า เหตุใดผลกำไรของปีนี้กับปีที่แล้วจึงแตกต่างกัน  (Actual vs Last Year (LY))

เราสามารถใช้กราฟนี้นำเสนอว่า

ความแตกต่างของผลกำไรทั้งสองปี เกิดจากองค์ประกอบ 6 ประเภทด้วยกันคือ

  1. อัตราแลกเปลี่ยน (Foreign Exchange Rate)
  2. ปริมาณที่เปลี่ยนแปลง (Volume Variance)
  3. ราคาที่เปลี่ยนแปลง (Price Changed)
  4. การผสมผสานของสินค้าขาย (Price Mix)
  5. ต้นทุนที่เปลี่ยนแปลง (Cost Changed)
  6. การผสมผสานของต้นทุนสินค้าขาย (Cost Mix)

รายละเอียดของการคำนวณ ขอยกยอดอธิบายในบทความอื่นนะครับ เพราะเนื้อหาเยอะกว่าการสร้างกราฟน้ำตกเสียอีก ^_^

เมื่อได้องค์ประกอบทั้ง 6 แล้ว นำมาบวกกับข้อมูลผลกำไรปีฐาน (LY – กราฟแท่งซ้ายสุด) และข้อมูลปีปัจจุบัน (Actual – กราฟแท่งขวาสุด) กราฟที่ได้จึงมีทั้งหมด 8 แท่ง (6+2)

หลายปีก่อน ผมสร้างกราฟแบบนี้ไม่เป็น ก็เลยเลือกกราฟคอลัมน์แบบ 2 ชั้น แล้วมานั่งแมนวลปรับแต่งเอง เสียสุขภาพจิตเป็นอย่างมาก (ผู้บริหารชอบกราฟแบบนี้เพราะเค้าบอกว่าเห็นภาพชัดเจน แต่คนทำเหนื่อยโฮก T_T)

จนเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ค้นพบวิธีว่า กราฟแบบนี้ไม่ใช่คอลัมน์ 2 ชั้น แต่คือ คอลัมน์ 5 ชั้น ต่างหาก!

Table of Waterfall Chart

จากตารางด้านบน จะเห็นได้ว่า คอลัมน์ 5 ชั้น ประกอบด้วย

  1. กราฟที่มองไม่เห็น (Invisible Starting Point) คือกราฟที่อยู่ด้านล่างแต่ทำเป็นไม่มีสี ไม่มีเส้นขอบ จุดประสงค์เพื่อยกกราฟที่แสดงข้อมูลตัวเลขติดลบหรือตัวเลขติดบวกให้ขึ้นไปล่องลอยแบบเท่ๆนั่นเอง
  2. กราฟเริ่มต้น (Beginning) ในที่นี้ก็คือกราฟสีเทาด้านซ้ายสุด แสดงผลกำไรของปีที่แล้ว (LY)
  3. กราฟแสดงข้อมูลตัวเลขติดลบ (Minus) คือกราฟสีส้มแดงที่ลอยไปลอยมานั่นแหละครับ แปลความหมายได้ว่า ปีนี้แย่กว่าปีที่แล้ว
  4. กราฟแสดงข้อมูลตัวเลขติดบวก (Plus) คือกราฟสีเขียวที่ลอยไปลอยมานั่นแหละครับ แปลความหมายได้ว่า ปีนี้ดีกว่าปีที่แล้ว
  5. กราฟสุดท้าย (End) คือกราฟสีเทาด้านขวามือสุด แสดงผลกำไรของปีนี้ (Actual) นั่นเอง

หลายคนอาจยังมองไม่เห็นภาพว่าเจ้า “กราฟที่มองไม่เห็น” คืออะไร ขอเปลือยร่างมันดังนี้ครับ

พอเข้าใจแล้วใช่ไหมครับ?

จริงๆแล้ว “กราฟที่มองไม่เห็น” ก็คื่อกราฟที่เราสร้าเอาไว้เป็นฐานล่างสุด แต่ไร้สีไร้ขอบนั่นเอง (อารมณ์เหมือนยาพิษไร้สีไร้กลิ่น ^^)

เทคนิคการคำนวณ “ขนาด” ของเจ้ากราฟที่มองไม่เห็น คือ

เห็นแล้วงงไหมครับ?

งงสิ ใครจะไปรู้เรื่อง!

ใจเย็นๆครับ ถ้าดูภาพแล้วงง ลองดูสมการก็ได้ครับ

ขนาดของกราฟที่มองไม่เห็นมีค่าเท่ากับ

กราฟที่มองไม่เห็นขององค์ประกอบก่อนหน้า + กราฟเริ่มต้นขององค์ประกอบก่อนหน้า + กราฟแสดงข้อมูลติดบวกขององค์ประกอบก่อนหน้า กราฟแสดงข้อมูลติดลบขององค์ประกอบนี้

หรือในสูตรก็คือ D6 = C6 + C7 + C9 – D8

ซึ่งเจ้า D6 ก็คือ กราฟที่มองไม่เห็นขององค์ประกอบนี้นั่นเอง

อธิบายแล้วก็อาจยังงงใช่ไหมครับ

ขอแทนค่าด้วยตัวเลข อาจมองภาพได้ง่ายขึ้น

ขนาดกราฟที่มองไม่เห็น ของกราฟแท่งที่ชื่อว่า Vol Var คือ

100 + 0 + 4.7 – 30

ซึ่งมีค่าเท่ากับ 74.7 นั่นเอง

สำหรับ “ขนาด” ของ “กราฟแสดงข้อมูลติดลบ” (Minus) สามารถคำนวณได้จาก

จะเห็นได้ว่า มันง่ายกว่าเจ้ากราฟที่มองไม่เห็นใช่ไหมครับ เพราะแค่ปรับเครื่องหมายข้อมูลด้านบน (แถวที่สี่) ให้กลายเป็นบวกเท่านั้นเอง

ส่วนเจ้า “กราฟแสดงข้อมูลติดบวก” (Plus) ก็อาศัยหลักการเดียวกัน นั่นคือ

เอาเข้าจริงแล้วสิ่งที่ดูเป็นปัญหาของเจ้ากราฟน้ำตกนี้ก็คือ กราฟที่มองไม่เห็น นั่นเอง

ลองมาดูตัวอย่างแบบเต็มๆซักแท่งนึง ขอเลือกแท่งที่ชื่อ Vol Var หรือก็คือ ความแตกต่างที่เกิดจากปริมาณที่เปลี่ยนแปลงไป (Volume Variance) นะครับ

จริงๆแล้วเจ้า Vol Var คือกราฟคอลัมน์ 5 ชั้น ประกอบด้วยค่าต่างๆดังนี้

  1. Invisible Starting Point = 74.7 ซึ่งก็คือกราฟโปร่งใสแสดงในภาพด้านบนนั่นเอง
  2. Beginning = 0 (กราฟเริ่มต้นมีค่าเป็นบวกเฉพาะกราฟแท่งซ้ายสุดเท่านั้น ส่วนแทงอื่นๆมีค่าเป็น 0)
  3. Minus = 30.7 (แสดงเป็นกราฟสีส้ม)
  4. Plus = 0
  5. End = 0

หรือมันมีค่าจริงๆแค่ 2 ค่า นั่นคือ

Invisible Starting Point (74.7) + Minus (30.0)

ส่วนค่าอื่นๆเป็น 0

พอจะมองออกกันไหมครับ…

ถ้าเราเข้าใจหลักการนี้ จะมี 5 หรือ 10 องค์ประกอบในกราฟก็สร้างได้ไม่ยาก (แต่อย่ามีเยอะเกินไปนะครับ ไม่อย่างนั้นจะงง และยากที่จะแสดงให้ผู้ฟังเข้าใจ)

โครงสร้างกราฟก็เหมือนเดิม นั่นคือ กราฟคอลัมน์ซ้อนกัน 5 ชั้น

สำหรับคนที่ไม่เคยใช้กราฟนี้ สามารถดาวน์โหลดไฟล์ตัวอย่างด้านล่างมาศึกษาได้เลยครับ

WaterfallGraph_Bridge_150125

สามารถนำไฟล์นี้ไปใช้เลยได้ไหม?

ได่ครับ ขอแค่ใส่ข้อมูลลงไปในเซลล์ที่ไฮไลต์ไว้เป็นสีเทาก็พอ

ถ้ามีองค์ประกอบมากกว่าหรือน้อยกว่า 6 อย่าง (ในตัวอย่างมีองค์ประกอบ 6 อย่าง) ก็สามารถแทรก (insert) คอลัมน์เข้าไป แล้วลากสูตรให้เหมือนเดิมก็พอครับ

หรือถ้าน้อยกว่า 6 อย่างก็ยิ่งง่าย เพียงแค่ลบกราฟบางแท่งออกก็พอครับ

ถ้าทำเป็นแล้วจะรู้เลยว่ากราฟนี้ไม่ได้ยาก เพียงแต่เราไม่คุ้นเคยเท่านั้นเอง

เชื่อผมเถอะครับว่าผู้บริหารส่วนใหญ่ชอบกราฟแบบนี้ ทำให้รีพอร์ตของเราดูมีองค์

ขอให้สนุกกับการใช้กราฟน้ำตกทุกคนครับ ^_^

.

หากคุณชอบบทความแนวนี้ สามารถอัพเดตบทความใหม่ๆโดยคลิก Like เฟสบุ๊คแฟนเพจ วิศวกรรีพอร์ต หรือคลิก ที่นี่

อย่าลืมแชร์ให้เพื่อนอ่านเพื่อเป็นกำลังใจให้คนเขียนด้วยนะครับ ^_^

Exit mobile version