หลายคนอาจเคยเห็นบริษัทที่ปรึกษาชื่อดัง นำเสนอข้อมูลด้วยกราฟเท่ๆ แนวๆ และคิดในใจว่า
“ต้องใช้โปรแกรมไฮโซถึงจะสร้างกราฟพวกนี้ได้หรือเปล่าหนอ?”
ถูกส่วนหนึ่งครับ กราฟพวกนี้มักถูกสร้างจากโปรแกรมที่เราไม่ค่อยรู้จัก เช่น Think-Cell, Tableau
แต่ไม่ได้หมายความว่าเอ็กเซลจะสร้างไม่ได้เสมอไป
แม้กราฟพวกนี้จะไม่ใช่กราฟมาตรฐานของเอ็กเซล แต่เราก็สามารถปรุงแต่งเพื่อประยุกต์ใช้ได้เช่นกัน
ในที่นี้ขอยกตัวอย่างการสร้างกราฟน้ำตก (Waterfall Chart) หรือบางคนอาจจะเรียกว่ากราฟสะพาน (Bridge Analysis)
กราฟที่ว่ามีหน้าตาดังนี้ครับ

สมมติเราต้องการวิเคราะห์ว่า เหตุใดผลกำไรของปีนี้กับปีที่แล้วจึงแตกต่างกัน (Actual vs Last Year (LY))
เราสามารถใช้กราฟนี้นำเสนอว่า
ความแตกต่างของผลกำไรทั้งสองปี เกิดจากองค์ประกอบ 6 ประเภทด้วยกันคือ
- อัตราแลกเปลี่ยน (Foreign Exchange Rate)
- ปริมาณที่เปลี่ยนแปลง (Volume Variance)
- ราคาที่เปลี่ยนแปลง (Price Changed)
- การผสมผสานของสินค้าขาย (Price Mix)
- ต้นทุนที่เปลี่ยนแปลง (Cost Changed)
- การผสมผสานของต้นทุนสินค้าขาย (Cost Mix)
รายละเอียดของการคำนวณ ขอยกยอดอธิบายในบทความอื่นนะครับ เพราะเนื้อหาเยอะกว่าการสร้างกราฟน้ำตกเสียอีก ^_^
เมื่อได้องค์ประกอบทั้ง 6 แล้ว นำมาบวกกับข้อมูลผลกำไรปีฐาน (LY – กราฟแท่งซ้ายสุด) และข้อมูลปีปัจจุบัน (Actual – กราฟแท่งขวาสุด) กราฟที่ได้จึงมีทั้งหมด 8 แท่ง (6+2)
หลายปีก่อน ผมสร้างกราฟแบบนี้ไม่เป็น ก็เลยเลือกกราฟคอลัมน์แบบ 2 ชั้น แล้วมานั่งแมนวลปรับแต่งเอง เสียสุขภาพจิตเป็นอย่างมาก (ผู้บริหารชอบกราฟแบบนี้เพราะเค้าบอกว่าเห็นภาพชัดเจน แต่คนทำเหนื่อยโฮก T_T)
จนเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ค้นพบวิธีว่า กราฟแบบนี้ไม่ใช่คอลัมน์ 2 ชั้น แต่คือ คอลัมน์ 5 ชั้น ต่างหาก!

จากตารางด้านบน จะเห็นได้ว่า คอลัมน์ 5 ชั้น ประกอบด้วย
- กราฟที่มองไม่เห็น (Invisible Starting Point) คือกราฟที่อยู่ด้านล่างแต่ทำเป็นไม่มีสี ไม่มีเส้นขอบ จุดประสงค์เพื่อยกกราฟที่แสดงข้อมูลตัวเลขติดลบหรือตัวเลขติดบวกให้ขึ้นไปล่องลอยแบบเท่ๆนั่นเอง
- กราฟเริ่มต้น (Beginning) ในที่นี้ก็คือกราฟสีเทาด้านซ้ายสุด แสดงผลกำไรของปีที่แล้ว (LY)
- กราฟแสดงข้อมูลตัวเลขติดลบ (Minus) คือกราฟสีส้มแดงที่ลอยไปลอยมานั่นแหละครับ แปลความหมายได้ว่า ปีนี้แย่กว่าปีที่แล้ว
- กราฟแสดงข้อมูลตัวเลขติดบวก (Plus) คือกราฟสีเขียวที่ลอยไปลอยมานั่นแหละครับ แปลความหมายได้ว่า ปีนี้ดีกว่าปีที่แล้ว
- กราฟสุดท้าย (End) คือกราฟสีเทาด้านขวามือสุด แสดงผลกำไรของปีนี้ (Actual) นั่นเอง
หลายคนอาจยังมองไม่เห็นภาพว่าเจ้า “กราฟที่มองไม่เห็น” คืออะไร ขอเปลือยร่างมันดังนี้ครับ
พอเข้าใจแล้วใช่ไหมครับ?
จริงๆแล้ว “กราฟที่มองไม่เห็น” ก็คื่อกราฟที่เราสร้าเอาไว้เป็นฐานล่างสุด แต่ไร้สีไร้ขอบนั่นเอง (อารมณ์เหมือนยาพิษไร้สีไร้กลิ่น ^^)
เทคนิคการคำนวณ “ขนาด” ของเจ้ากราฟที่มองไม่เห็น คือ
เห็นแล้วงงไหมครับ?
งงสิ ใครจะไปรู้เรื่อง!
ใจเย็นๆครับ ถ้าดูภาพแล้วงง ลองดูสมการก็ได้ครับ
ขนาดของกราฟที่มองไม่เห็นมีค่าเท่ากับ
กราฟที่มองไม่เห็นขององค์ประกอบก่อนหน้า + กราฟเริ่มต้นขององค์ประกอบก่อนหน้า + กราฟแสดงข้อมูลติดบวกขององค์ประกอบก่อนหน้า – กราฟแสดงข้อมูลติดลบขององค์ประกอบนี้
หรือในสูตรก็คือ D6 = C6 + C7 + C9 – D8
ซึ่งเจ้า D6 ก็คือ กราฟที่มองไม่เห็นขององค์ประกอบนี้นั่นเอง
อธิบายแล้วก็อาจยังงงใช่ไหมครับ
ขอแทนค่าด้วยตัวเลข อาจมองภาพได้ง่ายขึ้น
ขนาดกราฟที่มองไม่เห็น ของกราฟแท่งที่ชื่อว่า Vol Var คือ
100 + 0 + 4.7 – 30
ซึ่งมีค่าเท่ากับ 74.7 นั่นเอง
สำหรับ “ขนาด” ของ “กราฟแสดงข้อมูลติดลบ” (Minus) สามารถคำนวณได้จาก
จะเห็นได้ว่า มันง่ายกว่าเจ้ากราฟที่มองไม่เห็นใช่ไหมครับ เพราะแค่ปรับเครื่องหมายข้อมูลด้านบน (แถวที่สี่) ให้กลายเป็นบวกเท่านั้นเอง
ส่วนเจ้า “กราฟแสดงข้อมูลติดบวก” (Plus) ก็อาศัยหลักการเดียวกัน นั่นคือ
เอาเข้าจริงแล้วสิ่งที่ดูเป็นปัญหาของเจ้ากราฟน้ำตกนี้ก็คือ กราฟที่มองไม่เห็น นั่นเอง
ลองมาดูตัวอย่างแบบเต็มๆซักแท่งนึง ขอเลือกแท่งที่ชื่อ Vol Var หรือก็คือ ความแตกต่างที่เกิดจากปริมาณที่เปลี่ยนแปลงไป (Volume Variance) นะครับ
จริงๆแล้วเจ้า Vol Var คือกราฟคอลัมน์ 5 ชั้น ประกอบด้วยค่าต่างๆดังนี้
- Invisible Starting Point = 74.7 ซึ่งก็คือกราฟโปร่งใสแสดงในภาพด้านบนนั่นเอง
- Beginning = 0 (กราฟเริ่มต้นมีค่าเป็นบวกเฉพาะกราฟแท่งซ้ายสุดเท่านั้น ส่วนแทงอื่นๆมีค่าเป็น 0)
- Minus = 30.7 (แสดงเป็นกราฟสีส้ม)
- Plus = 0
- End = 0
หรือมันมีค่าจริงๆแค่ 2 ค่า นั่นคือ
Invisible Starting Point (74.7) + Minus (30.0)
ส่วนค่าอื่นๆเป็น 0
พอจะมองออกกันไหมครับ…
ถ้าเราเข้าใจหลักการนี้ จะมี 5 หรือ 10 องค์ประกอบในกราฟก็สร้างได้ไม่ยาก (แต่อย่ามีเยอะเกินไปนะครับ ไม่อย่างนั้นจะงง และยากที่จะแสดงให้ผู้ฟังเข้าใจ)
โครงสร้างกราฟก็เหมือนเดิม นั่นคือ กราฟคอลัมน์ซ้อนกัน 5 ชั้น
สำหรับคนที่ไม่เคยใช้กราฟนี้ สามารถดาวน์โหลดไฟล์ตัวอย่างด้านล่างมาศึกษาได้เลยครับ
สามารถนำไฟล์นี้ไปใช้เลยได้ไหม?
ได่ครับ ขอแค่ใส่ข้อมูลลงไปในเซลล์ที่ไฮไลต์ไว้เป็นสีเทาก็พอ
ถ้ามีองค์ประกอบมากกว่าหรือน้อยกว่า 6 อย่าง (ในตัวอย่างมีองค์ประกอบ 6 อย่าง) ก็สามารถแทรก (insert) คอลัมน์เข้าไป แล้วลากสูตรให้เหมือนเดิมก็พอครับ
หรือถ้าน้อยกว่า 6 อย่างก็ยิ่งง่าย เพียงแค่ลบกราฟบางแท่งออกก็พอครับ
ถ้าทำเป็นแล้วจะรู้เลยว่ากราฟนี้ไม่ได้ยาก เพียงแต่เราไม่คุ้นเคยเท่านั้นเอง
เชื่อผมเถอะครับว่าผู้บริหารส่วนใหญ่ชอบกราฟแบบนี้ ทำให้รีพอร์ตของเราดูมีองค์
ขอให้สนุกกับการใช้กราฟน้ำตกทุกคนครับ ^_^
.
หากคุณชอบบทความแนวนี้ สามารถอัพเดตบทความใหม่ๆโดยคลิก Like เฟสบุ๊คแฟนเพจ วิศวกรรีพอร์ต หรือคลิก ที่นี่
อย่าลืมแชร์ให้เพื่อนอ่านเพื่อเป็นกำลังใจให้คนเขียนด้วยนะครับ ^_^
ขอบคุณสำหรับบทความครับ
พึ่งเคยเห็นกราฟแบบนี้ สวยดีครับ
ตินิดนึงนะครับ แต่ละบทความควรใส่ “Read more”ด้วยก็ดีนะครับ หน้ารวมบทความหน้าแรกจะได้ไม่ยาวเกินไปครับ ^ ^
ขอบคุณมากที่แนะนำนะครับ ขอสารภาพเลยครับว่าตอนนี้ผมไม่รู้จักเจ้า Read More ที่คุณแนะนำเลย เรียกได้ว่ามือใหม่มากๆสำหรับการเขียนบล็อค ขอเวลาไปศึกษาแล้วจะนำมาปรับปรุงนะครับ
ขอบคุณอีกครั้งครับ
โพสต์ด้านบนผมตอบเองนะครับ พอดีรับการแจ้งเตือนทางอีเมลล์เลยกดตอบจากลิงค์ในนั้นเลย เพิ่งทราบว่าระบบจะไม่รับรู้ว่าผมเป็นคนตอบ คราวนี้เลยตอบโดยเข้าจากบล็อกโดยตรงครับ
แก้ไขให้แล้วนะครับ ขอบคุณสำหรับคำแนะนำดีๆครับ
ได้รับประโยชน์มากครับ ขอบคุณนะครับ
ดีใจที่ชอบครับ
ชอบหลายบทความมากเลยครับมีประโยชน์มาก
ขอบคุณครับ ดีใจที่บทความของผมเป็นประโยชน์กับคุณะนะครับ แล้วจะพยายามเขียนบ่อยๆนะครับ
โพสต์ด้านบนผมตอบเองนะครับ พอดีรับการแจ้งเตือนทางอีเมลล์เลยกดตอบจากลิงค์ในนั้นเลย เพิ่งทราบว่าระบบจะไม่รับรู้ว่าผมเป็นคนตอบ คราวนี้เลยตอบโดยเข้าจากบล็อกโดยตรงครับ
ขอบคุณมากนะค่ะ
ยินดีครับ
ขอบคุณมากนะค่ะที่ Share ความรู้ต่างๆให้ คำแนะนำต่างๆสามารถประยุกต์ใช้ในการทำงานในปัจจุบันได้จริง ดีใจมากที่พบบทความนี้
ยินดีครับ
ขอบคุณมากครับ เป็นเทคนิคการทำกราฟที่สุดยอดมาก
รบกวนสอบถามหน่อยครับ ว่าในตัวอย่างที่ใช้เราจะตีความตัวเลขอย่างไรครับ
LY = 100 ลบ. +/- รายการที่มีผลต่อกำไร = Actual 102 ลบ. แบบนี้หรือครับ
แต่ผมบวกตัวเลขแต่ละรายการมันรวมกันแล้ว ได้ 2 ลบ. เลยไม่เข้าใจครับว่า ฐาน 100 คืออะไร
ขอบคุณมากครับ
กราฟนี้ใช้อธิบาย “ไส้ใน” ว่า ความแตกต่าง (2 ล้าน) เกิดจากอะไร
จากเคสที่อธิบาย 100 คือตัวเลขปีที่แล้ว 102 คือตัวเลขปีนี้ เรารู้ว่าผลต่างคือ 2 แต่ถ้าบอกแค่ผลต่าง คนฟังก็จะถามว่า แล้วเจ้า 2 เกิดจากปัจจัยอะไรบ้าง
ปัจจัยที่ว่าก็คือ “ไส้ใน” ของ waterfall นั่นเองครับ
โอยยย ดีมากกกกครับ อธิบายเข้าใจ แถมมี template ให้อีกกก สุดยอดดดดดด กระทู้ตั้งนานละ แต่ยังไงเป็นกำลังใจให้นะครับผม 😉
ขอบคุณครับ