Sparklines ได้อย่าง เสียอย่าง..

คุณเคยใช้ Sparklines กับข้อมูลที่มีหลายๆบรรทัด แล้วเจอปัญหาเรื่องสเกลเพี้ยนไหมครับ?
ปัญหาที่ว่าคือ กราฟที่ดูสูงในบรรทัดที่ 1 อาจมีค่าน้อยกว่ากราฟที่ดูเตี้ย (อย่าใช้คำว่าต่ำเลยเนอะ ^^) ในบรรทัดที่ 2 ก็เป็นได้
Sparklines_NonVerticalAxisScale_160416

จากภาพด้านบน Sparklines ของตัวเลข 44 ในเดือน Apr ปี 2016 ดูมีค่าสูงกว่า Sparklines ของตัวเลข 48 เดือน Apr ปี 2015 เสียอีก
ยิ่งถ้าดู Sparklines ของตัวเลข 49 ในเดือน Jan ปี 2016 เทียบกับ Sparklines ของตัวเลข 36 เดือน Jan ปี 2015 ยิ่งดูแปลกไปใหญ่!
ถ้าดูข้อมูลเรียงกันหลายๆปี สเกลจะมิกซ์กันจนมั่วไปหมด จนอาจตีความหมายจาก Sparklines ผิดเพี้ยนไป T_T
นี่อาจเป็นสาเหตุนึงที่ Sparklines ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควร…
อันที่จริง เอ็กเซลเตรียมออปชั่นไว้แก้ปัญหานี้ให้เราแล้ว แถมแก้ได้ง่ายมั่กๆ
นั่นคือ
Sparklines Scale Adjustment
อย่างไรก็ตาม วิธีนี้เปรียบเสมือนดาบสองคม
นั่นคือ ถ้ามองข้อมูลในแนวดิ่ง สเกลจะสมจริง และทุกบรรทัดใช้สเกลเดียวกัน
แต่ถ้ามองข้อมูลแต่ละเซลล์ (แนวนอน) ความแตกต่าง (Contrast) ของกราฟจะลดลง จนทำให้ค่า Min หรือ Max ไม่ค่อยชัดเจนเท่าที่ควร
บางที เราคงต้อง “ชั่ง” ว่าต้องการนำเสนอแบบใด คงไม่มีรูปแบบใดที่ดีที่สุด
เอ๊ย! นี่มันเข้ากับเพลงที่ว่า…
“ได้อย่าง ก็ต้องเสียอย่าง เลือกเดินบนทางสักทาง ได้ม๊าย” เลยนี่นา ^^

.

หากคุณชอบบทความแนวนี้ สามารถอัพเดตบทความใหม่ๆโดยคลิก Like เฟสบุ๊คแฟนเพจ วิศวกรรีพอร์ต หรือคลิก ที่นี่

อย่าลืมแชร์ให้เพื่อนอ่านเพื่อเป็นกำลังใจให้คนเขียนด้วยนะครับ ^_^

วิศวกรรีพอร์ต

คนธรรมดาผู้มีประสบการณ์ทำงานหลากหลายตำแหน่ง คลุกคลีกับการทำรีพอร์ตมาโดยตลอด สุดท้ายค้นพบแนวทางของตัวเอง จึงอยากแบ่งปันเคล็ดลับและประสบการณ์ให้กับผู้สนใจ

2 thoughts on “Sparklines ได้อย่าง เสียอย่าง..

  1. 😀

    ขอบคุณที่เขียนทับศัพท์ มิฉะนั้น ได้เห็นศัพท์ที่แปลเป็นภาษาไทยแล้วฮามาก ๆ (เส้นประกายไฟ)

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.