เทคนิคคำนวณ Maximum Break สนุกเกอร์

“ต๋อง ศิษย์ฉ่อย” คือฮีโร่ของผมในวัยเด็ก
ถ้ามีถ่ายทอดสดสนุกเกอร์เมื่อใด ผมจะนั่งหน้าจอทีวี แม้นาฬิกาจะบอกเวลาตีสองก็ตาม

“ไทยทอร์นาโด” คือฉายาที่สื่อตั้ง ช่างเป็นฉายาที่เท่มาก

“ทำไมเค้าเก่งจัง?” ผมเฝ้าถามตัวเอง
ไม่เคยมีคนไทยทำได้ระดับเดียวกับคุณต๋องอีกเลย

จนไม่นานมานี้ ผมได้ฟังสัมภาษณ์คุณต๋อง คุณต๋องเล่าว่า ตอนกำลังเทิร์นโปร เค้าซ้อมสนุกเกอร์วันละ 12 ชั่วโมง!
และซ้อมแบบนั้นติดต่อกันหลายปี!

นี่คือเหตุผลที่ทำให้เค้าไปได้ไกลถึงอันดับสามของโลก

คุณต๋องเล่าให้ฟังต่อว่า เวลาซ้อมจะซ้อมไม่เหมือนชาวบ้าน คือหลังจากเก็บ(ลูก)แดงแล้ว ก็จะเก็บ(ลูก)สีเพียงสีเดียว เมื่อเก็บสีนั้นจนครบ 15 แดง ก็จะแทง(ลูก)สีทั้งหมดให้หมดโต๊ะ

หลักการเหมือนทำ maximum break
แต่การทำ maximum break จะเก็บเฉพาะดำเท่านั้น (เพราะดำมีแต้มสูงสุดที่ 7 แต้ม)

คุณต๋องใช้หลักการนี้กับการเก็บ เหลือง เขียว ช็อก ฟ้า และชมพู

ผมฟังแล้วอึ้งเลย เพราะการเก็บเหลืองด้วย 15 แดงนั้นยากมาก ๆ

หลังฟังสัมภาษณ์จบ ผมก็ถามตัวเองว่า
“ถ้าเก็บเหลืองด้วย 15 แดง จะได้กี่แต้ม?”
“แล้วสีอื่น ๆ ล่ะ?”

ก็เลยเปิดคอมขึ้นมา หาวิธีคำนวณ Maximum Break ของแต่ละสี
สูตรที่ได้คือ

=15*(1+MATCH(A2,{"Yellow","Green","Brown","Blue","Pink","Black"},0)+1)+SUM(SEQUENCE(6,,2))

ผลลัพธ์คือตามภาพ

ไม่คิดเหมือนกันว่าหลังฟังสัมภาษณ์จบ จะพบตัวเองเปิดเอกซ์เซล

คำนวณแล้วก็ยังอดชื่นชมคุณต๋องไม่ได้
ใครชอบคุณต๋องเหมือนผม คอมเมนต์บอกกันหน่อยครับ 😊

วิศวกรรีพอร์ต

คนธรรมดาผู้มีประสบการณ์ทำงานหลากหลายตำแหน่ง คลุกคลีกับการทำรีพอร์ตมาโดยตลอด สุดท้ายค้นพบแนวทางของตัวเอง จึงอยากแบ่งปันเคล็ดลับและประสบการณ์ให้กับผู้สนใจ

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.