อยากวิเคราะห์ว่าโครงการนี้น่าลงทุนหรือเปล่า ใช้อะไรวิเคราะห์ดี??
ผมได้รับคำถามนี้จากแฟนเพจท่านนึงครับ เห็นว่าน่าสนใจ ขอตอบด้วยบทความนี้ครับ
โดยทั่วไปแล้วดัชนีสุดฮิตที่เราใช้วิเคราะห์โครงการก็คือ
ผมเคยเขียนบทความเกี่ยวกับเจ้าสามตัวไว้แล้ว ขอไม่กล่าวซ้ำนะครับ ถ้าสนใจ คลิกที่ลิงค์หรือก็คือตัวหนังสือสีฟ้าได้เลยครับ เดี๋ยวมันจะไปพาไปยังบทความนั้นๆเอง ^o^
จริงๆแล้ว วิเคราะห์แค่เจ้าสามตัวนี้ก็พอจะเห็นภาพ แต่เจ้าสามตัวนี้
ไม่ได้คิดถึงแหล่งที่มาของเงินทุน
และ
ต้นทุนของเงินทุน
ดัชนีที่คำนึงถึงแหล่งที่มาของเงินทุน (โดยทั่วไปมี 2 แหล่ง คือ “เงินกู” กับ “เงินกู้” ^o^) ชื่อว่า
ROCE
ส่วนดัชนีที่คำนึงถึงต้นทุนของเงินทุนด้วย ชื่อว่า
EP (Economic Profit)
ผมขออธิบายเจ้าสองตัวนี้ไว้ในบทความอื่นนะครับ เพราะคงต้องอธิบายยาวววว.. ขอติดไว้ก่อน (อีกแล้ว) นะครับ ^^
นอกจากนี้เรายังควรวิเคราะห์ความอ่อนไหวของสมมติฐาน ประกอบการวิเคราะห์โครงการ หรือก็คือ
จากเริ่มบทความจนถึงบรรทัดนี้ จะเห็นได้ว่ามุมมองทั้งหมด คือการประเมินโครงการเพียงมิติเดียวเท่านั้น นั่นก็คือ
ด้านการเงิน
ในความเป็นจริงแล้ว เราไม่ควรประเมินโครงการโดยมองด้านการเงินเพียงอย่างเดียว ควรวิเคราะห์เพิ่มในอีก 4 มิติ ซึ่งก็แปลว่าควรมองทั้งหมด 5 มิติ นั่นเอง
ถ้าเราเลือกซื้อโทรศัพท์ เราคงไม่ได้ดูแค่ราคาเพียงอย่างเดียวใช่ไหมครับ? ฉันใดก็ฉันนั้น
อีก 4 มิติที่ว่า ก็คือ
1. การสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจ
ผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการนี้ สามารถสร้างความแตกต่างให้เราเหนือคู่แข่งได้หรือเปล่า?
ทั้งนี้รวมถึงการสร้างนวัตกรรม ให้กับธุรกิจด้วยนะครับ เราสามารถพัฒนาสินค้าหรือบริการเพื่อนำหน้าคู่แข่ง หรือถีบตัวเองออกไปในตลาดที่ยังไม่มีผู้เล่นได้หรือไม่ (Blue Ocean)
ถ้าทำได้ ต่อให้ตัวเลขด้านการเงินไม่สวยหรูนัก แต่ก็เป็นโครงการที่น่าสนใจนะครับ บางทีผลตอบแทนที่ได้จากโครงกานี้อาจสูงกว่าสมมติฐานที่วางไว้ตอนแรกก็เป็นได้
2. กระบวนการทำงาน
ก็คือการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้สั้นลง เร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงลดขั้นตอนบางอย่างที่อาจเป็นชนวนให้เกิดความขัดแย้งในองค์กร
การนำระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยจะทำให้เกิดความชัดเจน ไม่ต้องกล่าวโทษกันว่าความผิดพลาดเกิดจากใคร ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว อาจเกิดจากปัจจัยภายนอกก็เป็นได้
3. ความปลอดภัย
ไม่มีโครงการด้านความปลอดภัยใดที่ทำแล้วได้ NPV, IRR สูง ระยะเวลาคืนทุนอาจไม่รู้ว่าจะมาเมื่อไร
หากมองเฉพาะแง่การเงิน โครงการด้านความปลอดภัยไม่คุ้มเลย
แต่…
เป็นโครงการที่ควรทำ และต้องทำ เพราะเราคงไม่สามารถประเมินชีวิตคนด้วยตัวเงินได้…
โดยส่วนตัวแล้วผมสนับสนุนโครงการด้านความปลอดภัย และมักทำทุกวิถีทางเพื่อให้โครงการนี้ได้รับการอนุมัติ แม้ว่าตัวเลขด้านการเงินจะไม่ค่อยน่าดูก็ตาม
4. สิ่งแวดล้อม
โครงการด้านสิ่งแวดล้อมก็คล้ายโครงการด้านความปลอดภัยที่มักมี NPV, IRR ต่ำ ส่วนใหญ่จะใช้การรอดพ้นค่าปรับจากทางราชการนำไปหักล้างกับเงินที่ต้องลงทุน หรือมองว่าการรอดพ้นค่าปรับคือผลตอบแทนจากโครงการนั่นเอง
เพียงแต่ว่า.. คิดยังไง NPV, IRR ก็กระจิดริดติ๊ดต๋อยเหลือเกิน…
อย่างไรก็ตาม ถ้านำ “ต้นทุนที่มองไม่เห็น” มาคิดเป็นผลตอบแทนจากโครงการ เช่น ค่าฟ้องร้องที่อาจเกิดขึ้นจากการร้องเรียนของชุมชน โครงการนี้จะดูคุ้มทุนขึ้นมาทันทีทันใด
ทั้งนี้อาจชี้ประเด็นในเรื่องการเสื่อมเสียภาพลักษณ์องค์กร และนำตัวเงินในแง่มูลค่าแบรนด์มาคิดเป็นผลตอบแทนโครงการ (แต่คนตัดสินใจจะยอมรับหรือเปล่า นั่นอีกเรื่องนึงนะครับ ^_^)
จากที่กล่าวมายืดยาวทั้งหมด ขอสรุปว่า
การประเมินโครงการที่ดีนั้น ควรมองให้หลากหลายมิติ
อย่ามองแต่ด้านการเงินเป็นหลัก!!!
โครงการดีๆอาจดูแย่มากในมุมมองด้านการเงิน แต่อาจเป็นโครงการที่ดีมากในแง่ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม
อย่าตัดโครงการดีๆเพียงเพราะตัวเลขด้านการเงินดูไม่สวยงามนะครับ ^_^
.
หากคุณชอบบทความแนวนี้ สามารถอัพเดตบทความใหม่ๆโดยคลิก Like เฟสบุ๊คแฟนเพจ วิศวกรรีพอร์ต หรือคลิก ที่นี่
อย่าลืมแชร์ให้เพื่อนอ่านเพื่อเป็นกำลังใจให้คนเขียนด้วยนะครับ ^_^
2 thoughts on “ลงทุนโครงการนี้ดีไหม ต้องวิเคราะห์อะไรบ้าง?? [Feasibility Study]”