5 เพนซิฟ ปี 2016 กับ เพจวิศวกรรีพอร์ต

คุณเคยดูหนังเรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์ ไหมครับ?

ในเรื่องจะมีของวิเศษอย่างหนึ่ง หน้าตาคล้ายอ่างใบเล็กๆ มีน้ำอยู่นิดหน่อย

อ่างใบนั้นชื่อว่า เพนซิฟ (Pensieve) ใช้เก็บความทรงจำของพ่อมด

ทั้งความทรงจำที่อยากจำ และความทรงจำที่ไม่อยากจำ

วันนี้ผมขอใช้โพสต์นี้เป็นเพนซิฟ สำหรับเก็บ 5 ความทรงจำที่อยากจำของปี 2016

เผื่ออีก 10 ข้างหน้า อยากนึกย้อน จะได้กลับมาดูใน “เพนซิฟ” ใบนี้ครับ ^__^

1 จัดกิจกรรม “ร่วมทำบุญ เรียนเอ็กเซล” ที่บ้านคามิลเลียน ลาดกระบัง 

050.JPG

กิจกรรม ร่วมทำบุญ เรียนเอ็กเซล ที่จัดขึ้นวันที่ 30 ตุลาคม 2016 คือสิ่งที่ผมภูมิใจมากที่สุดในปีนี้

ขอบคุณผู้เข้าร่วมทั้ง 75 ท่านที่เสียสละวันหยุด ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมนี้ ขอบคุณที่ช่วยเติมเต็มกิจกรรมให้สมบูรณ์

ขอบคุณเงินบริจาคกว่า 102,000 บาท (หนึ่งแสนสองพันบาท) ที่ร่วมกันระดมทุน เป็นตัวเลขที่สูงกว่าความคาดหวังเยอะมาก ^/\^

เท่าที่ได้พูดคุย ผู้เข้าร่วมทุกท่านมาที่นี่เป็นครั้งแรก นอกจากความรู้การทำ Break-even analysis และ Feasibility study ที่ถือเป็น “ของชำร่วย” ของกิจกรรมนี้แล้ว

ทุกท่านคงได้สัมผัสกับอีกมุมมองหนึ่งของชีวิต และคิดเหมือนผมว่า

เราโชคดีมากๆที่เกิดมาครบ 32

ยิ่งใครมีลูกน้อย ยิ่งน่าจะสัมผัสถึงความโชคดีนี้ได้ลึกซึ้งขึ้นอีก

น้องๆของที่นี่ แม้มีความพิการทางด้านร่างกาย แต่จิตใจของพวกเขากลับตรงข้าม

เราได้เห็นแล้วว่า พวกเขามีจิตใจที่งดงาม สดใส เต็มไปด้วยความหวัง

ดีใจมากๆที่ได้จัดกิจกรรมนี้ครับ ^__^


2 รังสรรค์บทความใหม่ 45 บทความ

45 คือตัวเลขบทความใหม่ที่รังสรรค์ขึ้นในปี 2016

นับเฉพาะบทความที่เขียนในบล็อกวิศวกรรีพอร์ต https://reportingengineer.com เท่านั้น

(บางโพสต์ เขียนเฉพาะในเฟสบุ๊ค ไม่ได้เขียนในบล็อก)

Blog_ReportingEngineer_161231.png

ในนี้มี 2 บทความที่แนบคลิปสอนการสร้างกราฟเทอร์โมมิเตอร์ และ กราฟแสดงเส้นประต่อจากเส้นทึบ

ถามว่าพอใจไหมกับจำนวนเท่านี้?

คงไม่ถึงกับพอใจ เพราะต่ำกว่าเป้าที่วางไว้เล็กน้อย แต่ก็ถือว่าโอเค

เพราะมีหลายบทความที่น่าประทับใจ และได้รับการตอบรับดีมาก

ปี 2015 ทำได้ 76 บทความ

มี 2016 ทำได้ 45 บทความ

ส่วนปี 2017 จะทำได้กี่บทความ อย่าลืมติดตามนะครับ ^__^


3 โพสต์ 7,000 แชร์

โพสต์ทุกโพสต์ในปี 2016 ของเพจวิศวกรรีพอร์ต ไม่มีโพสต์ใดเลยที่จ่ายค่าโฆษณาให้เฟสบุ๊ค

โพสต์ที่ภูมิใจที่สุดคือ โพสต์เรื่อง Pivot Table วันที่ 16 มีนาคม 2016

หรือก็คือโพสต์นี้

715,022 คือยอดรีช

7,178 คือยอดแชร์

4,078 คือยอดไลค์ (ไม่รวมยอด reaction อื่นๆ)

191 คือยอดคอมเมนต์

Post7000Shares_160316.png

เป็นตัวเลขที่น่าเหลือเชื่อจริงๆ!

ตัวเลขนี้ อาจถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับเพจอื่นๆ

แต่สำหรับผม ถือว่าเยอะมาก มากกว่าที่คาดไว้มากมาย…

 

หวังว่าปี 2017 จะสามารถสร้างโพสต์ที่มียอดรีชสูงๆแบบนี้ได้อีก ^__^

ขอบคุณแรงสนับสนุนจากแฟนเพจทุกท่านครับ


4 มีคอร์สของตัวเอง 2 คอร์ส และสอนแล้ว 6 รุ่น

Say it with report และ Pivot report คือคอร์สที่ผมสร้างสรรค์ขึ้นในปี 2016

Say it with report เปิดสอนไปแล้ว 4 รุ่น

Pivot report เปิดสอนไปแล้ว 2 รุ่น และรุ่นที่ 3 จะสอนวันที่ 15 มกราคม 2017

IMG_8020.JPG

คอร์สทุกรุ่นเต็มภายในเวลาไม่ถึง 5 นาที หลังเปิดลงทะเบียน!

ผมดีใจมากๆ มากซะจนไม่รู้จะอธิบายว่าอย่างไรดี

ไม่คิดไม่ฝันเลยว่าจะได้การตอบรับที่ดีขนาดนี้ ^__^

ขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจครับ ^/\^


5 มีแฟนเพจเพิ่มขึ้นจาก 21,000 เป็น 63,000 คน

ผมจำได้ว่า วันที่ 31 ธันวาคม 2015 ยอดเพจไลค์ของวิศวกรรีพอร์ตอยู่ที่ประมาณ 21,000

วันนี้ วันที่ 31 ธันวาคม 2016 ยอดเพจไลค์เพิ่มขึ้นเป็น 63,294

PageLike_161231.png

หรือเพิ่มขึ้นกว่า 200% !

โดยไม่ได้จ่ายค่าโฆษณาให้เฟสบุ๊คเลยแม้แต่บาทเดียว

เป็นตัวเลขที่สูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้มาก

ขอบคุณแฟนเพจทุกท่านที่สนับสนุน ไม่ว่าจะเป็น ไลค์ เมนต์ แชร์

และการให้กำลังใจผ่านทางอินบอกซ์เมสเซส

ขอบคุณมากๆครับ ^/\^


ปี 2017 ผมตั้งใจจะทำให้ดียิ่งขึ้น

ยังมีเรื่องราว มีเทคนิคอีกมากมาย ที่อยากนำมาแบ่งปัน ผ่านเพจและบล็อกวิศวกรรีพอร์ตนี้

เฉพาะที่ร่างไว้ (แต่ยังเขียนไม่เสร็จ) ก็มีหลายสิบบทความแล้ว

ตั้งใจว่าจะทำให้ได้อย่างน้อย 52 บทความ

จะได้หรือไม่ได้ มาดูกันครับ…

ขอบคุณทุกแรงสนับสนุนจากแฟนเพจทุกท่าน

ดีใจที่ได้ทำเพจครับ ^__^

.

หากคุณชอบบทความแนวนี้ สามารถอัพเดตบทความใหม่ๆโดยคลิก Like เฟสบุ๊คแฟนเพจ วิศวกรรีพอร์ต หรือคลิก ที่นี่

อย่าลืมแชร์ให้เพื่อนอ่านเพื่อเป็นกำลังใจให้คนเขียนด้วยนะครับ ^_^

วิศวกรรีพอร์ต

คนธรรมดาผู้มีประสบการณ์ทำงานหลากหลายตำแหน่ง คลุกคลีกับการทำรีพอร์ตมาโดยตลอด สุดท้ายค้นพบแนวทางของตัวเอง จึงอยากแบ่งปันเคล็ดลับและประสบการณ์ให้กับผู้สนใจ

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.