สูตร Excel คำนวณ Prorate รายปี

“อยากคำนวณ Prorate รายปี ต้องเขียนสูตรยังไงคะ?”
“Prorate รายปี คืออะไรครับ”

“คือการนำจำนวนวันที่เกิดขึ้นในปีนี้ หารด้วยจำนวนวันทั้งหมดของปีค่ะ”

เช่น ถ้าวันนี้คือวันที่ 26 มีนาคม 2023
จำนวนวันที่เกิดขึ้นในปีนี้คือ 85 (31+28+26)

ให้นำ 85 หารด้วยจำนวนวันทั้งหมดของปี
หรือก็คือ 85/365
ผลลัพธ์คือ 23.3% ค่ะ

“อ้อ! ใช้สูตรนี้ได้เลยครับ”

=C2/(DATE(YEAR(A2),12,31)-DATE(YEAR(A2),1,0))

“เขียนสูตรเป็น C2/365 ไม่ได้หรือคะ?”
“ไม่ได้ครับ เพราะบางปีอาจมี 366 วัน 🙂”

“งั้นเปลี่ยน 365 เป็น 365+IF(MOD(YEAR(A2),4),0,1) ได้ไหมคะ?”
“ไม่ได้ครับ เพราะปี 2100 มี 365 วัน

“เอ๋! ทำไมปี 2100 มี 365 วัน ล่ะคะ น่าจะมี 366 วันนี่นา?”

ตามกฎของปีอธิกสุรทิน (Leap Year) ถ้าปี ค.ศ. นั้นหารด้วย 400 ไม่ลงตัว ปีนั้นจะมี 365 วันครับ

ดังนั้น ปี 2100, 2200, 2300 จะมี 365 วัน
แต่ปี 2000, 2400 จะมี 366 วัน

“จริงหรือคะ?”
จริงแท้แน่นอนครับ 😊

วิศวกรรีพอร์ต

คนธรรมดาผู้มีประสบการณ์ทำงานหลากหลายตำแหน่ง คลุกคลีกับการทำรีพอร์ตมาโดยตลอด สุดท้ายค้นพบแนวทางของตัวเอง จึงอยากแบ่งปันเคล็ดลับและประสบการณ์ให้กับผู้สนใจ

3 thoughts on “สูตร Excel คำนวณ Prorate รายปี

  1. ไม่เสมอไปนะครับ ปีที่ หาร 400 ไม่ลงตัวแต่ เป็น (Leap Year)
    ก็คือ 2012
    ลองเปลี่ยน ปฏิทิน ไปดูได้ครับ

    1. โดยพื้นฐานแล้ว ปี ค.ศ.ที่หารด้วย 4 ลงตัวเดือนกุมภาพันธ์จะมี 29 วันครับ
      แต่ที่ผมเสริมคือ ทุก ๆ 100 ปี ที่หารด้วย 400 ไม่ลงตัว (เช่น 1900, 2100, 2200) เดือนกุมภาพันธ์จะมี 28 วันครับ

  2. กำลัง review กูรู ปีอธิกสุรทิน (Leap Year) ว่าแต่ละคน เข้าใจว่า อย่างไร
    ที่ผ่านมา ผม ความรู้ไม่แน่น จีง เงี่ยบ
    แต่ ตอนนี้ ได้ สอวน ดาราศาสตร์มา จึง กลับมา อ่านใหม่
    ว่า ถูกต้องตามหลักวิชาการไหม

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.