“อยากให้พรุ่งนี้เป็นเมื่อวานจัง วันนี้จะได้เป็นวันศุกร์” กับ “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง”

“อยากให้พรุ่งนี้เป็นเมื่อวานจัง วันนี้จะได้เป็นวันศุกร์” คงเป็นคำถามฮอตฮิตติดเฟสในรอบสัปดาห์นี้

ผมคิดว่าคงต้องนำสำนวนอมตะอย่าง “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” มาช่วยคิดอีกแรง

จึงจะหาคำตอบที่ “ถูกต้อง” ในมุมมองของ “คนถาม” ได้

Logic1_150226

แล้วมันเกี่ยวกันยังไง อะไร ทำไม งง..???

นั่นสิ!! ก่อนอื่นขออธิบายคำตอบตามที่ผมเข้าใจหรือได้ฟังเพื่อนๆถกกันมานะครับ ขอบอกว่าคำถามนี้ฮอตมากและถูกนำมาถกกันในกรุ๊ปเพื่อนๆวิศวะของผม (กรุ๊ปของคุณก็เหมือนกันใช่ไหมล่ะ!!)

หลายคนคงทราบคำตอบแล้วว่าสามารถตอบได้สองคำตอบคือ วันอาทิตย์ และ วันพุธ

ผมขอนำเสนอแนวคิดนิดหน่อยนะครับ วิธีคิดนี้ผมได้มาจากที่เพื่อนๆถกกันนั่นแหละครับ แต่มาปรับตามสไตล์ของผมในแบบที่ผมคิดว่าเข้าใจง่าย วิธีคิดดังกล่าวคือ

สำหรับคำตอบในวิธีนี้ก็คือ “วันอาทิตย์” นะครับ

ขออนุญาตอธิบายวิธีคิดดังนี้นะครับ ถ้าแทนค่าของ “วันความหวัง” (Hope) ด้วยวันศุกร์ (วันนี้จะได้เป็นวันศุกร์) จะได้ว่า “วันพรุ่งนี้” คือ วันจันทร์ และ “เมื่อวาน” คือวันเสาร์ ซึ่งวันเสาร์ก็จะตรงกับวันพรุ่งนี้ของวันความหวัง (Hope) นั่นเอง ตรรกะสอดรับกันเป็นอย่างดี ดังนั้นวันนี้ก็คือ วันอาทิตย์ เป็นคำตอบสุดท้าย แท่น แทน แท๊น…

แต่….. สำหรับโจทย์ข้อนี้ อาจหาคำตอบโดยใช้สมการก็ได้นะครับ โดยสมการที่ใช้หาคำตอบคือ

Logic2_1_150226ด้วยวิธีนี้เรากำหนด “วันความหวัง” = Y และ “วันนี้” = X = วันศุกร์ สมการคือ

       X + 1 = Y – 1

ตามภาพด้านบนจะพบว่า วันความหวัง ก็คือ วันอาทิตย์ ซึ่งก็เป็นคำตอบที่ตรงกับวิธีคิดวิธีแรกนั่นเอง

แต่… เดี๋ยวก่อน ถ้าเรามองสมการนี้ด้วยอีกมุมมองนึงล่ะ+++

Logic2_2_150226ในที่นี้เราสมมติให้ “วันที่อยากให้เป็น” = X (แทนที่จะเป็น Y) และ วันนี้ = Y = วันศุกร์ (แทนที่จะเป็น X) ใช้สมการเดิมในการหาคำตอบ จะพบว่าคำตอบกลับเป็น วันพุธ ซะนี่ ลองตรวจตรรกะดูอีกครั้งก็พบว่าไม่ผิด แต่ทำไมโจทย์เดียวกันมีสองคำตอบล่ะ???

คำตอบที่ถูกต้องขึ้นอยู่กับว่า “คนถาม” คือใครด้วย เพราะเราคงต้องนำตรรกะว่าคนถามคือใครมาเป็นตรรกะหนึ่งเพื่อช่วยเลือกคำตอบที่ถูกต้อง ซึ่งอาจเป็นไปได้ทั้ง วันอาทิตย์ วันพุธ หรือถูกทั้งสองวันก็เป็นไปได้ สิ่งที่เราต้องทำคือ “เลือก” คำตอบที่คิดว่า โดน คนถามมากที่สุด ซึ่งในชีวิตจริงแล้ว “คนถาม” อาจจะเป็น เจ้านาย ผู้บริหาร ลูกค้า ลูกน้อง ลูกสาว หรือ แม่ค้าขายส้มตำหน้าปากซอยก็เป็นได้ ดังนั้นจึงไม่มีคำตอบที่ถูกต้องที่สุด มีแต่คำตอบที่ทำให้ “คนถามพอใจที่สุด” และนั่นก็เป็นหลักการหนึ่งของการตลาดนั่นเอง

อ้าว!!! ก็ตอบได้ทั้งวันอาทิตย์ แล้วก็ วันพุธไม่ใช่เหรอ??? ตอบว่าถูกทั้งคู่เลยได้ไหม???

ความน่าสนใจของโจทย์ข้อนี้คือเราต้อง “ทายใจ” คนถามให้ได้ว่า “คำตอบ” ในใจเค้าคืออะไร ประเด็นนี้เองที่ผมอยากให้มองอีกมุมหนึ่งว่า หากเราพบกับทางสองทางที่เป็นไปได้ และสามารถทำได้ทั้งคู่ แต่ด้วยข้อจำกัดร้อยแปด เช่น งบประมาณ เวลา สถานที่ ระยะทาง หรืออะไรก็ตาม ทางที่เราเลือกอาจต้องมีปัจจัยอื่นมาช่วยตัดสินใจซึ่งก็คือต้อง “ทายใจ” ให้ได้ว่าผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจน่าจะใช้ตรรกะอะไรในการคิดแบบนี้ ถ้าเราทายใจเค้าได้ หรือ “รู้เขา” โอกาสที่เราจะได้คะแนนในชีวิตจริงก็จะมีสูงขึ้น “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” จึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอะไรเลยหากเรานำมาประยุกต์ใช้ (อย่าลืม “รู้เรา” ด้วยนะครับ สำคัญไม่แพ้กัน) หากเปรียบเทียบแล้วการ “ทายใจ” ก็คือการ สร้างตรรกะ อีกข้อหนึ่งเพื่อปิดความน่าจะเป็นนั่นเอง

สมมติว่าผมเพิ่มตรรกะลงไปอีกข้อนึง เช่น “จะดีกว่านี้ถ้าวันนี้เป็นวันหยุดสุดสัปดาห์” ถ้าผมเพิ่มตรรกะนี้ไปคำตอบ วันอาทิตย์ ก็จะเป็นคำตอบที่ผิดทันที และคำตอบที่ถูกต้องจะมีเพียงคำตอบเดียงคือ วันพุธ ในชีวิตจริงแล้วเราต้องหาให้ได้ว่า ตรรกะที่ยังมองไม่เห็น (ถ้ามี) คืออะไร และนี่คือ “เสน่ห์” ของการใช้ชีวิตนั่นเอง

หากหลายคนๆยังอยากลับสมองกับโจทย์ทำนองนี้อยู่ เมื่อวานนี้ผมได้รับคำถามจากพี่ที่ทำงานคนหนึ่ง เป็นคำถามแนวๆเดียวกัน และต้องใช้ “มุมมอง” หาคำตอบคล้ายๆกัน โจทย์มีอยู่ว่า

นายสมชายตั้งรหัสบัตรเอทีเอ็มเป็น 2520 ด้วยความกลัวลืม เขาจึงเขียนตัวเลขสี่ตัวไว้บนบัตรว่า 5500 ถ้าสมมติว่าเค้าเปลี่ยนรหัสบัตรเอทีเอ็มอีกครั้งแล้วเขียนเลขสี่ตัวบนบัตรว่า 8886 อยากทราบว่ารหัสที่แท้จริงสี่ตัวคืออะไร????

คิดคำตอบได้อะไรยังไงแชร์กันได้นะครับ แต่สำหรับผมแล้ว ผมคิดว่า 5906 หรือ 5806 ไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องนะครับ ด้วยเหตุผลที่ว่ามันเดาง่ายเกินไป สำหรับผมแล้วแนวทางหาคำตอบอยู่ที่จุดประสงค์ของการตั้งรหัสนี้คือเพื่อกันลืม!!! และตั้งเอาไว้เป็นรหัสบัตรเอทีเอ็ม (ช่วยอะไรไหมเนี่ย??) ………. แล้วจะมีเฉลยในวันรุ่งขึ้นครับ

อรุณสวัสดิ์กับเช้าที่สดใสกว่าทุกวัน วันนี้ต้องมีสิ่งดีๆเกิดขึ้นกับฉันแน่นอน!!!

.

หากคุณชอบบทความแนวนี้ สามารถอัพเดตบทความใหม่ๆโดยคลิก Like เฟสบุ๊คแฟนเพจ วิศวกรรีพอร์ต หรือคลิก ที่นี่

อย่าลืมแชร์ให้เพื่อนอ่านเพื่อเป็นกำลังใจให้คนเขียนด้วยนะครับ ^_^

Credit: http://pantip.com/topic/33284974

วิศวกรรีพอร์ต

คนธรรมดาผู้มีประสบการณ์ทำงานหลากหลายตำแหน่ง คลุกคลีกับการทำรีพอร์ตมาโดยตลอด สุดท้ายค้นพบแนวทางของตัวเอง จึงอยากแบ่งปันเคล็ดลับและประสบการณ์ให้กับผู้สนใจ

2 thoughts on ““อยากให้พรุ่งนี้เป็นเมื่อวานจัง วันนี้จะได้เป็นวันศุกร์” กับ “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง”

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.