วันนี้ผมได้รับโจทย์ข้อนึงจากไลน์กรุ๊ปเพื่อนออฟฟิศเก่า เห็นว่าสนุกดี เลยหยิบมาเล่าให้ฟังครับ
โจทย์มีอยู่ว่า
ให้ใส่เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ ทำยังไงให้ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 6
2 2 2 =6
3 3 3 =6
4 4 4 =6
5 5 5 =6
6 6 6 =6
7 7 7 =6
8 8 8 =6
9 9 9 =6
ทำได้ 1 ข้อ จบอนุบาล
ทำได้ 2 ข้อ จบประถม
ทำได้ 3 ข้อจบ ม.ต้น
ทำได้ 4 ข้อ จบ ม.ปลาย
ทำได้ 5 ข้อ จบมหาลัย
ทำได้ 6 ข้อ จบศาสตร์ด้านนี้
ทำได้ทุกข้อ อัจฉริยะ
นี่คือคำตอบของผมโดยใช้ Excel คำนวณครับ ^__^

โจทย์ข้อนี้สนุกดี แถมได้รู้จักกับ ลำดับการคำนวณ ของเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ใน Excel ด้วย
ลำดับการคำนวณ?
Excel จัดลำดับการคำนวณของเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ดังนี้
1. ^ (ยกกำลัง)
2. * / (คูณ กับ หาร)
3. + – (บวก กับ ลบ)
ดังนั้น เวลาเขียนสูตร
=A3*B3-C3
จึงไม่ต้องเขียนเป็น
=(A3*B3)-C3
เพราะ Excel จะคูณก่อนลบอยู่แล้ว
หรือ
=A5+B5/C5
ก็ไม่ต้องเขียนเป็น
=A5+(B5/C5)
เพราะ Excel จะหารก่อนบวกเสมอ
แต่จะใส่วงเล็บก็ได้ไม่ว่ากัน ผมก็ชอบใส่วงเล็บให้อ่านง่ายครับ ^__^
แต่… ถ้าเป็น
=A8^(1/3)+B8^(1/3)+C8^(1/3)
ต้องมีวงเล็บครอบ (1/3) ด้วย
เพราะถ้าเขียนเป็น
=A8^1/3+B8^1/3+C8^1/3
=8
ทำไมได้ 8?
เพราะ Excel จะนำ A8 (ในที่นี้คือ 8) ไปยกกำลัง 1 ก่อน (ได้เป็น 8) แล้วค่อยหาร 3
=A8^1/3+B8^1/3+C8^1/3
=8/3+8/3+8/3
=2.66667+2.66667+266667
=8
ดังนั้นจึงต้องใส่วงเล็บ เพื่อให้คำนวณการหาร ( / ) ก่อน ยกกำลัง ( ^ )
SQRT คือฟังก์ชัน square root หรือก็คือการคิด รากที่สอง นั่นเอง เช่น
SQRT(4) = 2
SQRT(9) = 3
SQRT(16) = 4
จริงๆแล้ว การคำนวณรากที่สอง (พอเขียนเป็นภาษาไทย มันกลับไม่ค่อยชินแฮะ) นอกจากใช้ฟังก์ชัน SQRT แล้ว ยังมีอีก 2 วิธีคือ
1 ใช้เครื่องหมายยกกำลัง
โดยยกกำลังในรูปแบบของเศษส่วน เพราะรากที่สองก็คือการยกกำลัง 0.5 หรือ 1/2 นั่นเอง (ยังจำกันได้หรือเปล่าเอ่ย) เช่น
4^(1/2) = 2
9^(1/2) = 3
16^(1/2) = 4
4^0.5 = 2
9^0.5 = 3
16^0.5 = 4
2 ใช้ฟังก์ชัน POWER
ฟังก์ชัน POWER คือการยกกำลังนั่นเอง โครงสร้างคือ
POWER( number, power )
เช่น
POWER(2,3) = 8 (สองยกกำลังสาม)
POWER(2,4) = 16 (สองยกกำลังสี่)
POWER(2,5) = 32 (สองยกกำลังห้า)
อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ เรามักใช้เครื่องหมาย ^ แทนฟังก์ชัน POWER เพราะง่ายและสั้นกว่า เช่น
2^3 = 8
2^4 = 16
2^5 = 32
แล้วจะใช้ฟังก์ชัน POWER หารากที่สองยังไง?
ง่ายมาก ก็ยกกำลัง 0.5 หรือ 1/2 ไงครับ
POWER(4, 0.5) = 2
POWER(9, 0.5) = 3
POWER( 16, 0.5) = 4
POWER(4, 1/2) = 2
POWER(9, 1/2) = 3
POWER( 16, 1/2) = 4
แต่ถ้าเป็น รากที่สาม (ภาษาอังกฤษคือ cube root สารภาพว่ารู้จักคำนี้ตอนเขียนบทความนี้นี่แหละ ^^) ไม่มีฟังก์ชันโดยตรง เวลาคำนวณจึงใช้การยกกำลังหนึ่งส่วนสามแทน เช่น
8^(1/3) = 2
27^(1/3) = 3
64^(1/3) = 4
POWER(8, 1/3) = 2
POWER(27, 1/3) = 3
POWER(64, 1/3) = 4
ถ้าเป็น รากที่สี่ ก็คือการยกกำลังหนึ่งส่วนสี่ หรือก็คือ ^(1/4) นั่นเองครับ ^__^
ว้าว! โจทย์สนุก แถมได้ความรู้ Excel ด้วย !
อันที่จริง ยังคิดได้อีกหลายแบบนะครับ เช่น
(4+4)^1/3 + 4 = 6
8 – (8+8)^1/4 = 6
(9+9)/SQRT(9) = 6
จริงๆแล้วโจทย์ข้อนี้ใช้ความรู้พีชคณิตธรรมดา ไม่ต้องเป็นอัจฉริยะหรือจบศาสตร์ด้านนี้ก็ทำได้
ถ้าเป็นอัจฉริยะ ก็คือคนคิดโจทย์นี่แหละ งดงามมากๆ ขอคารวะคนคิดโจทย์สามทีครับ ^/\^
สำหรับใครที่สนใจไฟล์ตัวอย่างของบทความนี้ ดาวน์โหลดเพื่อศึกษาได้เลยครับ
.
หากคุณชอบบทความแนวนี้ สามารถอัพเดตบทความใหม่โดยคลิก Like เฟซบุ๊กแฟนเพจ วิศวกรรีพอร์ต หรือคลิก ที่นี่
อย่าลืมแชร์ให้เพื่อนอ่านเพื่อเป็นกำลังใจให้คนเขียนด้วยนะครับ ^__^
อ้อ! ตอนนี้ผมมีสอนคอร์สออนไลน์ ชื่อ “Excel In Essence: รู้ Excel เท่านี้ ชีวิตดีขึ้นมากมาย” สนใจดูรายละเอียดได้จาก ลิงค์นี้ ครับ