เจ๊ย! เทคนิคเปลี่ยนตัวเลข เป็นชื่อเดือน

“อยากเปลี่ยน ตัวเลข เป็น ชื่อเดือน ต้องทำยังไงคะ?”
“ยะ..ยังไงนะครับ”
“เช่น ถ้ามีเลข 1 อยากเปลี่ยนเป็นคำว่า Jan ค่ะ”

อ๋อ! ใช้สูตรนี้ได้เลยครับ 😊

=TEXT(A2*28,"[$-409]mmm")

“ทำไมต้องคูณ 28 ด้วยล่ะคะ?”

ค่าที่แท้จริงของวันที่คือตัวเลข โดยเริ่มนับ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1900

ดังนั้น 2*28 = 56
ตรงกับวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1900

“คูณ 30 ได้ไหมคะ ทำไมต้องคูณ 28?”

ถ้าเป็น Excel คูณ 30 ได้
เพราะ 2×30 = 60
ตรงกับวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1900

แต่ถ้าเขียนสูตรด้วยภาษาอื่น อาจคูณ 30 ไม่ได้ เพราะจะกลายเป็นวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1900

“ทำไมล่ะคะ?”

ในทางปฏิบัติแล้ว วันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1900 ไม่มีอยู่จริง

“เอ๋!”

ตามกฎของปีอธิกสุรทิน (Leap Year) ปี ค.ศ. ที่ลงท้ายด้วย 00 เช่น 1800, 1900 ถือว่าเดือนกุมภาพันธ์มี 28 วัน!

ยกเว้นปีที่หารด้วย 400 ลงตัว เช่น 1600, 2000 เดือนกุมภาพันธ์จึงมี 29 วัน ตามที่เราเข้าใจกัน

Excel ไม่ได้คำนึงถึงเรื่องนี้ตอนสร้างโปรแกรม จึงถือว่าในระบบมีวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1900 แล้วก็เลยตามเลยมาจนถึงปัจจุบัน

แต่ไม่รู้ว่าโปรแกรมอื่นจะมองแบบนี้หรือเปล่า

(Note: ถ้าเป็นโปรแกรม Power BI คูณด้วย 30 ได้ เพราะ Power BI เริ่มนับ 1 ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1899)

สรุปคือ ถ้าเป็น Excel คูณได้ทั้ง 28, 29, 30

ผมชอบคูณด้วย 28 นะ
แล้วคุณล่ะ? 😊

วิศวกรรีพอร์ต

คนธรรมดาผู้มีประสบการณ์ทำงานหลากหลายตำแหน่ง คลุกคลีกับการทำรีพอร์ตมาโดยตลอด สุดท้ายค้นพบแนวทางของตัวเอง จึงอยากแบ่งปันเคล็ดลับและประสบการณ์ให้กับผู้สนใจ

One thought on “เจ๊ย! เทคนิคเปลี่ยนตัวเลข เป็นชื่อเดือน

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.