รวิศ ผู้อาจหาญ และอุตสาหะ

ผมเจอบทความนี้โดยบังเอิญ แต่อ่านแล้วชอบมากๆ

ชอบจนอยากให้ทุกคนที่ผมรู้จักได้อ่าน

ในบางช่วงของการอ่าน มันจะมีฟิลประมาณว่า

“เฮ้ย! จริงดิ!”

“ไม่น่าเชื่อว่าจะขนาดนี้”

“ใจกล้าจริงๆ”

ทำให้ผมรู้สึก “อิน” กับเรื่องราวในบทความมากๆ

บทความที่พูดถึงคือ http://www.missiontothemoon.co/blog/articles/70

ขออนุญาตเล่าให้ฟังคร่าวๆนะครับ …

เรื่องราวในบทความเป็น “บันทึก” ของคุณรวิศ หาญอุตสาหะ ทายาทรุ่นที่ 3 ของ “แป้งหอมศรีจันทร์

1904147_215431305328121_943468407_n
Source: https://www.facebook.com/marketingeverythingbook/photos/

(ขออนุญาตเรียกว่าพี่แท็ปนะครับ)

(ที่ผมอิน เพราะพี่แท็ปเป็นรุ่นพี่วิศวะที่อายุมากกว่าเพียง 2 ปีเท่านั้น ต่างกันที่พี่เขาเรียนไฟฟ้า ส่วนผมเรียนสิ่งแวดล้อม)

เมื่อ 11 ปีก่อน (2007) พี่แท็ปมารับช่วงกิจการของครอบครัว ซึ่งเป็นกิจการตั้งแต่รุ่นคุณปู่

ตอนแรกผมอ่านแล้วก็ไม่รู้สึกอะไร เพราะเป็นเรื่องที่พบเจอบ่อยๆ

แต่มาสะดุดตรงคำว่า ณ ตอนนั้น ที่บริษัทไม่มีคอมพิวเตอร์แม้แต่ตัวเดียว !

เฮ้ย ! นั่นปี 2007 แล้วนะ ยังทำงานแบบใช้กระดาษกันอยู่อีกเหรอ !

แถมสินค้าก็ไม่มีบาร์โค้ด จึงเข้าร้านค้าใหญ่ๆไม่ได้

อันนี้ผมเข้าใจเลย เมื่อ 8 ปีก่อน ผมเคยทำร้านขายยา ถ้าสินค้าตัวไหนไม่มีบาร์โค้ด ผมไม่อยากขาย เพราะต้องมานั่งทำโค้ด ทำสติกเกอร์ฉลากเอง ทำสรุปว่าอะไรไม่มีบาร์โค้ดบ้าง วุ่นวายมากๆ

พี่แท็ปเลยอยากให้สินค้ามีบาร์โค้ด

 

ถ้าเป็นหนังทั่วไป การมีบาร์โค้ดน่าจะทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้น จนไปถึงจุดหมายในที่สุด

แต่นี่คือชีวิตจริง ไม่ใช่หนัง การมีบาร์โค้ดไม่ได้พลิกชีวิตแป้งหอมศรีจันทร์

ที่พี่เขามาถึงทุกวันนี้ได้ บาร์โค้ดเป็นเพียง “จิ๊กซอว์” ตัวเล็กๆในภาพต่อขนาดใหญ่

ยังมีจิ๊กซอว์ “ตัวใหญ่” ที่พี่เค้าต้องต่อสู้ ค้นหา และรากเลือดกว่าจะได้มา

รวมถึงต้องวาง “เดิมพัน” ครั้งสำคัญ ชนิดที่ว่า ถ้าเดิมพันครั้งนี้พลาด ก็ปิดบริษัทได้เลย

ตอนนั้นตัวเลขยอดขายของแป้งหอมศรีจันทร์อยู่ในหลักแสนบาทต่อเดือนเท่านั้น

นั่นคือตัวเลขยอดขายนะ ไม่ใช่กำไร !

(ยังแอบคิดในใจว่า ถ้าตอนนั้นพี่เค้าทำงานประจำต่อ รายได้น่าจะดีกว่าด้วยซ้ำ ก่อนหน้านั้นพี่แท็ปทำงานด้านการเงิน เงินเดือนเผลอๆจะสูงกว่ายอดขายของบริษัท)

เรื่องราวหลังจากนั้น ผมอยากให้คุณอ่านจากพี่แท็ปเขียน พี่เค้าเขียนไว้ดีมากๆ

 

โดยส่วนตัวแล้ว ผมชอบอ่านเรื่องราวของคนที่ประสบความสำเร็จ แต่ชอบอ่านที่เจ้าของเรื่องราวเขียนเอง ไม่ใช่คนอื่นเขียนให้ หรือเขียนจากมุมของคนอื่น

เพราะเจ้าตัวคือคนที่เข้าใจสถานการณ์ตอนนั้นมากที่สุด การเขียนจะไม่เล่าแค่เรื่องราว แต่จะเล่าความรู้สึกด้วย มันจะมีรายละเอียด มันจะมี “ความไม่สมบูรณ์แบบ” มันจะมี “อารมณ์” ทำให้เรากลับมาย้อนแย้งนึกเปรียบเทียบกับเรื่องราวของเรา และทำให้เกิดมุมมองใหม่ๆ

รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นว่า

“ถ้าเค้าทำได้ เราก็ทำได้”

ผมอ่านบทความนี้รอบแรก รอบสอง และรอบสาม และเซฟลิงค์เก็บไว้ใน Bookmark

ถ้าวันไหนผมท้อ ผมจะกลับมาอ่านรอบสี่ รอบห้าแน่นอน…

 

ขอบคุณพี่แท็ป รวิศ หาญอุตสาหะ เจ้าของเพจ Mission To The Moon ที่แบ่งปันประสบการณ์ล้ำค่าครับ

ประสบการณ์ของพี่ มีค่ากับน้องคนนี้มากๆครับ

 

ขอบคุณอีกครั้งจากใจจริง,

บิว วิศวกรรีพอร์ต

วิศวกรรีพอร์ต

คนธรรมดาผู้มีประสบการณ์ทำงานหลากหลายตำแหน่ง คลุกคลีกับการทำรีพอร์ตมาโดยตลอด สุดท้ายค้นพบแนวทางของตัวเอง จึงอยากแบ่งปันเคล็ดลับและประสบการณ์ให้กับผู้สนใจ

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.