ช่วงนี้กระแสฮอตฮิตบนโลกโซเชียล คงหนีไม่พ้นคำถาม
“ใครทำแจกันแตก?”
ซึ่งเป็นคำถามจากข้อสอบความถนัดทางวิศวกรรมปีล่าสุด
คำถามมีอยู่ว่า
แล้วคำตอบคืออะไร?
คำถามข้อนี้ สามารถหาคำตอบได้หลายวิธี
ถ้าเป็นผม ผมจะ “เรียบเรียง” ออกมาให้เห็น “ภาพ” ก่อน
คนที่พูดถึงมีตั้ง 5 คน แต่ละคนพูด 2 อย่าง แปลว่ามีตรรกะทั้งหมด 10 อย่าง
แถมชื่อของแต่ละคนก็ไม่ได้ง่ายต่อจำเล๊ย ถ้าไม่เขียนออกมา คิดในหัวไม่ไหวแน่ T_T
พอเขียนออกมาแล้ว จะเห็นได้ว่า จับกลุ่มใหญ่ๆได้ 2 กลุ่ม
ชื่อของคนใน 2 กลุ่มนี้ ไม่น่าจะเป็นคนทำแตก เพราะตรรกะหักล้างกันเองได้ ทั้งในแนวนอน และแนวตั้ง
(อย่าลืมว่า ทุกข้อมูลต้องมีพูดความจริง 1 และโกหก 1)
แต่ กชกร กับ จันทนา ไม่มีตรรกะให้หักล้าง น่าสงสัยที่สุด!
ลองแทนค่าว่า จันทนา ทำแตก ลงไปในตรรกะทั้ง 10
จะเห็นได้ว่า แต่ละข้อมูลมี โกหก 1 และ พูดจริง 1 ตรงตามที่โจทย์ต้องการเด๊ะๆ
แต่ถ้าลองแทนค่าด้วย กชกร ทำแตก
ข้อมูล 2 จะกลายเป็น พูดจริงทั้ง 2 อัน
ข้อมูล 4 จะกลายเป็น โกหกทั้ง 2 อัน
ถ้าลองแทนค่าด้วย ชรินทร์ ขนิษฐา หรือ คุณากร ก็ได้ผลลัพธ์เหมือนกัน คือ มีข้อมูลที่สอดคล้อง (โกหก 1 พูดจริง 1) เพียง 2
ไมสอดคล้อง 3 (โกหก 2 พูดจริง 0, โกหก 0 พูดจริง 2)
อ่านโจทย์แล้ว ดูเหมือนจะยาก แต่พอเขียนออกมาเป็น “ภาพ” แล้วไม่ยากเลยใช่ไหมครับ
ยิ่งจันทนาอยู่ในผู้ต้องสงสัยกลุ่มแรกด้วย จับแทนค่าคนแรก ได้คำตอบเลย!
ไม่จำเป็นต้องแทนค่าให้ครบทุกคนก็ได้ ^__^
ในอีกมุมมมองนึง เราอาจนำวิชาตรรกศาสตร์มาช่วยแก้โจทย์ข้อนี้
แต่ต้องเขียนด้วยภาษาตรรกศาสตร์ ซึ่งอาจยากต่อการทำความเข้าใจ ยิ่งตอนทำข้อสอบ ยิ่งมึนอยู่แล้ว ยิ่งยากไปกันใหญ่
การแก้ปัญหาโจทย์แต่ละข้อ สามารถคิดได้หลากหลาย ทุกวิธีต่างมุ่งไปสู่จุดหมายเดียวกัน
เพียงแต่ว่า เราจะเลือกวิธีไหนที่เหมาะกับตัวเรา
ในชีวิตจริงก็เหมือนกัน การทำอะไรซักอย่าง ทำได้หลายวิธี
ไม่จำเป็นต้องทำตามแบบนั้น แบบนี้เสมอ เลือกวิธีที่ง่าย และเป็นตัวของเราเองดีที่สุด
จริงไหมล่ะ จันทนา ^__^
.
หากคุณชอบบทความแนวนี้ สามารถอัพเดตบทความใหม่ๆโดยคลิก Like เฟสบุ๊คแฟนเพจ วิศวกรรีพอร์ต หรือคลิก ที่นี่
อย่าลืมแชร์ให้เพื่อนอ่านเพื่อเป็นกำลังใจให้คนเขียนด้วยนะครับ ^_^